มีคนจำนวนไม่น้อยที่กำลังมองหาโอกาสพิเศษในการทำความดีหรือช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ ซึ่งการทำความดีหรือการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ทำได้หลายรูปแบบ “บริจาคโลหิต” คืออีกหนึ่งวิธี ซึ่งเป็นการทำความดีโดยไม่ต้องลงทุนด้วยเม็ดเงิน เพียงแค่เตรียมร่างกายให้แข็งแรง โลหิตทุกซีซีที่บริจาคไปล้วนมีคุณค่า เพราะมีอีกหลายชีวิตที่กำลังรอคอยความหวังและโอกาสที่จะได้มีลมหายใจอยู่กับครอบครัวต่อไป
โดยที่ผ่านมาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ต้องจัดหาโลหิตให้ได้วันละ 1,800-2,000 ยูนิต และต่อเดือนต้องได้ไม่ต่ำกว่า 58,000 ยูนิต จึงจะเพียงพอต่อการแจกจ่ายไปให้กับผู้ป่วยตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ อีกทั้งองค์การอนามัยโลกยังได้กำหนดให้แต่ละประเทศจัดหาโลหิตจากผู้บริจาคที่ไม่หวังสิ่งตอบแทนให้ได้ 100 % ในปี 2563 โดยมีผู้บริจาคโลหิตไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของจำนวนประชากรของประเทศนั้นๆ ซึ่งในปัจจุบันศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติรับการบริจาคโลหิตจากทั้งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้ตามเป้าหมายร้อยละ 14 ของประชากร แต่โลหิตที่ได้รับบริจาคต้องจัดส่งไปช่วยเหลือโรงพยาบาลในต่างจังหวัดเกือบ 40% ของโลหิตที่จัดหาได้ เนื่องจากมีความต้องการโลหิตเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2560 มีการใช้โลหิต 2.6 ล้านยูนิต ทางสภากาชาดไทยจึงจำเป็นต้องเร่งจัดหาโลหิต เพื่อสำรองไว้แจกจ่ายให้เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งจะเห็นได้จากประกาศเชิญชวนให้ประชาชนออกมาร่วมบริจาคโลหิตอยู่เป็นระยะๆ
นายศรัณย์ ลิมป์หิรัญรักษ์ กรรมการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงาน วันประกันชีวิตแห่งชาติครั้งที่ 19/2561กล่าวว่า “การบริจาคโลหิตเป็นกิจกรรมสาธารณะกุศล โดยความร่วมมือของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน ผนึกกำลังคนประกันชีวิตปันโลหิตช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์ ด้วยการบริจาคโลหิต เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติที่จัดอย่างต่อเนื่องทุกปี ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ซึ่งปีนี้เป็นครั้งที่ 9 (เริ่มรับบริจาคโลหิตครั้งแรก ในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 11/2553) ซึ่งที่ผ่านมามีผู้บริจาคโลหิตเป็นจำนวนกว่า 34,738 คน คิดเป็นปริมาณโลหิตที่เคยได้รับกว่า 14 ล้านซีซี สำหรับการบริจาคโลหิตเนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 19/2561 นี้ ในส่วนกลางจะจัดขึ้นในวันที่ 4 กรกฎาคม 2561 ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ตั้งแต่เวลา 09.00 – 15.30 น. และในส่วนภูมิภาคได้ดำเนินกิจกรรมรณรงค์และบริจาคโลหิตตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมาและจะสิ้นสุดในเดือนสิงหาคม 2561 ซึ่งปีนี้ได้วางเป้าหมายจำนวนผู้เข้าบริจาคโลหิตไว้ไม่ต่ำกว่า 7,000 คนและปริมาณโลหิตที่จะได้รับประมาณ 3.5 ล้านซีซี ดังนั้นจึงขอเชิญชวนประชาชนและบุคลากรในธุรกิจประกันชีวิต มาร่วมกันแสดงพลังของการให้เลือด เพื่อช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์กันนะครับ”
ภาคธุรกิจประกันชีวิตผนึกพลังบริจาคโลหิต
เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติครั้งที่ 19/2561
กำหนดการสัมมนา
เรื่อง IFRS 9 และ Solvency II ที่เกี่ยวข้องกับงานลงทุนของบริษัทประกันชีวิต
วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม 2557 เวลา 08.30 - 15.30 น.
ณ ห้องประชุม 701 อาคารสมาคมประกันชีวิตไทย
08.30 – 09.00 น. | ลงทะเบียน |
09.00 – 09.15 น. | พิธีเปิด |
นายอนุชา เหล่าขวัญสถิตย์ ประธานอนก.ลงทุน กล่าวรายงาน | |
นางบุษรา อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการสมาคม กล่าวเปิดการสัมมนา | |
09.15 –09.30 น. | บรรยาย “Timeline ของ IFRS 9 ในประเทศไทย” |
09.30 – 10.30 น. | บรรยายเนื้อหา IFRS 9 |
· สรุปเนื้อหาที่สำคัญของ IFRS 9 ที่มีผลกระทบต่อฝ่ายงานลงทุน | |
· เปรียบเทียบเนื้อหาที่สำคัญระหว่าง TAS 105, IAS 39 และ IFRS 9 | |
10.30 –10.45 น. | Coffee Break |
10.45 –12.00น. | บรรยายเนื้อหา IFRS 9 |
· สรุปประเด็นที่น่าสนใจและผลกระทบในทางปฏิบัติ | |
· การเตรียมตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลง | |
12.00 –12.15 น. | ** ตอบข้อซักถาม ** |
12.15 – 13.15น. | พักรับประทานอาหารกลางวัน |
13.15– 14.15น. | บรรยาย “สรุปภาพรวมของ IFRS 9 และ Solvency II requirement |
14.15 – 15.30 น. | ** ตอบข้อซักถาม** |
สมาคมประกันชีวิตไทยจัดบรรยายพิเศษเรื่อง “Robotic process automation”
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ อุปนายกฝ่ายบริหารและกรรมการประจำคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย เป็นประธานจัดงาน การบรรยายพิเศษด้านวิชาการ เรื่อง Robotic process automation ซึ่ง นายกล้าหาญ ชาคริตานนท์ Technical Lead, Business Intelligence Department บริษัท กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ให้เกียรติเป็นวิทยากร เพื่อเพิ่มพูนความรู้ เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการรับประกันและการบันทึกข้อมูลบนระบบของบริษัท แก่บุคลากรด้านพิจารณารับประกันภัยและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับกระบวนการพิจารณารับประกันภัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ณ ห้องประชุม New York 1 ชั้น 19 อาคาร G Tower ถนนพระราม 9 กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2561
13.30-14.00 | : ลงทะเบียน |
14.00-14.15 | : กล่าวเปิดการสัมมนา |
โดย ผช.ผอ.จรุง เชื้อจินดา | |
14.15-14.45 | : การคุ้มครองความปลอดภัยของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ |
บรรยายโดย Enterprise and Cyber Security / Gemalto | |
14.45-15.15 | : การลงลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับธุรกิจประกันชีวิต |
บรรยายโดย Bangkok Systems and Software | |
15.15-15.30 | : COFFEE BREAK |
15.30-16.00 | : การปกป้องข้อมูลความลับสำหรับธุรกิจประกันชีวิต |
บรรยายโดย Bangkok Systems and Software | |
16.00-16.30 | : ความปลอดภัยในการยืนยันตัวตนสำหรับธุรกิจประกันชีวิต |
บรรยายโดย Bangkok Systems and Software | |
16.30-17.00 | : Q&A / ปิดการสัมมนา |
ประกันชีวิตปี 62 ตั้งเป้าโต 3-5%
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทยเปิดเผยว่า ในปี 2561ธุรกิจประกันชีวิตยังเติบโตได้ดีเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น
และสามารถเติบโตได้ตามเป้าหมาย โดยมีเบี้ยประกันชีวิตรับรวม (มกราคม – ธันวาคม 2561) 627,387ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโตถึงร้อยละ 4.3เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
จำแนกเป็นเบี้ยประกันชีวิตรายใหม่ (New Business Premium) จำนวน 180,415ล้านบาท อัตราเติบโตร้อยละ 7.5โดยแยกเป็นเบี้ยประกันชีวิตรับปีแรก 95,684.3 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 7.22 เบี้ยประกันภัยรับจ่ายครั้งเดียว 84,730.7 ล้านบาท อัตราการเติบโตร้อยละ 30.96 เบี้ยประกันชีวิตปีต่อไป (Renewal
Year Premium) 446,972ล้านบาท
อัตราเติบโตร้อยละ 3.01
ซึ่งมีอัตราการคงอยู่ของกรมธรรม์ประกันชีวิตร้อยละ 83คิดเป็นสัดส่วนเบี้ยประกันชีวิตต่อ GDP
(Insurance Penetration Rate) ร้อยละ 3.9
(2560 : 3.9%) และคิดเป็นเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงต่อประชากร
(Insurance Density) จำนวน 9,447 บาท/คน เติบโตขึ้นร้อยละ 3.9 (2560
: 9,091 บาท/คน)
สมาคมประกันชีวิตไทยเตือนประชาชนอย่าเชื่อผู้ชวนยกเลิกกรมธรรม์
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทยเปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีผู้เอาประกันภัยร้องเรียนว่าได้รับการติดต่อจากบุคคลภายนอกที่แสวงหาผลประโยชน์ในฐานะคนกลางประกันภัย ที่อ้างตนเป็นเจ้าหน้าที่ส่วนกลางของ 24 บริษัทประกันชีวิตได้รับมอบหมายให้มาสำรวจหรือสุ่มตรวจสอบกรมธรรม์ประกันชีวิตของลูกค้า และเมื่อลูกค้าหลงเชื่อแจ้งข้อมูลกลับไป ตัวแทนประกันชีวิตก็จะแนะนำให้ผู้เอาประกันภัยยกเลิกกรมธรรม์ฉบับที่มีอยู่เพื่อมาทำสัญญาประกันชีวิตฉบับใหม่กับตนเอง โดยมีการนำข้อมูลมาเปรียบเทียบพร้อมแนะนำกรมธรรม์ใหม่ ซึ่งถ้าผู้เอาประกันภัยหลงเชื่ออาจตัดสินใจยกเลิกกรมธรรม์ไปในที่สุด
ในการนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยขอชี้แจ้งต่อกรณีดังกล่าวให้ทราบว่า บริษัทประกันชีวิตไม่มีนโยบายให้ตัวแทนประกันชีวิตออกสำรวจหรือสุ่มตรวจสอบกรมธรรม์ประกันชีวิตของลูกค้าแต่อย่างใด และพฤติกรรมดังกล่าวของบุคคลภายนอกที่แสวงหาผลประโยชน์ในฐานะคนกลางประกันภัยเป็นการกระทำผิดตามประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิตและการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต และธนาคาร พ.ศ. 2561 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป โดยมีบทลงโทษถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาต (ตัวแทนประกันชีวิต/นายหน้าประกันชีวิต) ทั้งนี้ ขอเตือนผู้เอาประกันภัยว่าไม่ควรยกเลิกกรมธรรม์ก่อนครบกำหนดสัญญา เพราะจะทำให้
ผู้เอาประกันภัยเสียประโยชน์ อาทิ กรมธรรม์บางแบบมีมูลค่าเวนคืน โดยเฉพาะในปีแรกๆ จะมีจำนวนน้อยกว่าเบี้ยประกันภัยที่ชำระไปแล้วทั้งหมด เนื่องจากบริษัทจะต้องนำจำนวนเงินสะสมของเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยจ่ายทุกปี ไปหักเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัทและค่าความคุ้มครองชีวิต และการทำกรมธรรม์ฯ ฉบับใหม่การจ่ายเบี้ยประกันชีวิตก็จะแพงขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้น รวมถึงจะต้องแถลงข้อความจริงเกี่ยวกับสุขภาพต่อบริษัทประกันชีวิตใหม่ ซึ่งจะทำให้บริษัทเริ่มนับระยะเวลาในการใช้สิทธิโต้แย้งใหม่ ทั้งนี้ หากผู้ขอเอาประกันภัยมีปัญหาสุขภาพ บริษัทมีสิทธิปฏิเสธไม่รับประกันภัย หรืออาจต้องชำระเบี้ยประกันภัยในอัตราที่สูงขึ้น นอกจากนี้หากซื้อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพจะต้องมีการเริ่มนับระยะเวลารอคอยใหม่อีกด้วย
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวเพิ่มเติมว่าหากได้รับการชักชวนจากบุคคลภายนอกที่แสวงหาผลประโยชน์ในฐานะคนกลางประกันภัยในการขอข้อมูลกรมธรรม์และแนะนำให้ทำการยกเลิกกรมธรรม์ฉบับเดิมเพื่อซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตฉบับใหม่ ผู้เอาประกันภัยควรไตร่ตรองและตระหนักให้ดีก่อนว่าตนเองจะเสียสิทธิอะไรไปบ้าง หากเกิดความไม่แน่ใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์บริษัทประกันชีวิตที่มีกรมธรรม์ประกันชีวิตฉบับปัจจุบันอยู่หรือ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สมาคมประกันชีวิตไทย เบอร์โทรศัพท์ 02-679-8080
e – mail : tlaa@tlaa.org หรือ http://www.tlaa.org
สมาคมประกันชีวิตไทย มอบเงินสนับสนุนให้แก่มูลนิธิพระดาบส
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคม พร้อมคณะกรรมการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย มอบเงินจำนวน 100,000 บาท เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 19 ประจำปี 2561 ให้กับมูลนิธิพระดาบส เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ด้านการศึกษาให้แก่เยาวชนที่เข้ารับการฝึกทักษะวิชาชีพ โดยมีพลเรือตรีหญิง ปณิธิ จั่นทอง หัวหน้าสำนักงานมูลนิธิฯ และรักษาการผู้อำนวยการมูลนิธิพระดาบส ให้เกียรติเป็นผู้รับมอบ ณ สำนักงานมูลนิธิพระดาบส เลขที่ 384/386 ถนนสามเสน แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพฯ เมื่อวันอังคารที่ 5 มีนาคม 2562
สมาคมประกันชีวิตไทยจัดสัมมนา “การกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับธุรกิจประกันชีวิต
(Corporate Governance Code for the Life Insurance Industry)”
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยคณะอนุกรรมการกำกับธุรกิจ จัดโครงการสัมมนาเรื่อง “การกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับธุรกิจประกันชีวิต (Corporate Governance Code for the Life Insurance Industry)”ซึ่งได้รับเกียรติจาก นางโสมสุดา ตันจันทร์พงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมบรรษัทภิบาล สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับธุรกิจประกันชีวิตและแนวทางในการบริหารจัดการสู่การเป็นบริษัทธรรมาภิบาลตามมาตรฐานสากล ให้กับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันชีวิตที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการกำกับดูแลธุรกิจเพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพเป็นที่เชื่อถือของประชาชน ณ ห้องประชุมชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562
สมาคมประกันชีวิตไทยร่วมงานสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย เข้าร่วมสัมมนาคณะกรรมการทั่วประเทศ ครั้งที่ 20 ประจำปี 2562 ของสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ทางธุรกิจประกันภัย รวมทั้งเสริมสร้างความรู้ความสามารถ ตลอดจนการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินให้เป็นที่ยอมรับ มุ่งเน้นคุณภาพการให้บริการและเป็นธรรมแก่ผู้บริโภค ณ ห้องประชุมคอนเวนชั่น โรงแรมราชศุภมิตร จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อวันที่ 6 – 8 มีนาคม 2562
สมาคมประกันชีวิตไทยเดินหน้าพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตสู่อาเซียน ล่าสุดจับมือสมาคมประกันชีวิตอินโดนีเซีย ( Indonesia Life Insurance Association : AAJI ) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจประกันชีวิตระหว่างสมาคม, สถิติการประกันชีวิต, กฎหมายการกำกับดูแลและข้อบังคับการประกันชีวิต รวมถึงให้การสนับสนุนกิจกรรมของทั้งสองสมาคมฯ อาทิ การทัศนศึกษาดูงานระหว่างสมาคม, การจัดสัมมนา, การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการวิจัยเกี่ยวกับอุตสาหกรรมประกันชีวิต
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยถึงการร่วมลงนามในครั้งนี้ว่า เป็นจุดเริ่มต้นอันดีต่อธุรกิจประกันชีวิตไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนมาเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตในประเทศ พร้อมทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและพัฒนาการให้บริการที่ดีต่อผู้เอาประกันภัย เพื่อให้ดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบองค์การการค้าโลกและกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โดยยึดหลักการผสานประโยชน์และความชํานาญซึ่งกันและกันในการสนับสนุนส่งเสริมข้อมูลในด้านต่างๆ
ทั้งนี้สมาคมประกันชีวิตไทยเคยลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับสมาคมประกันชีวิตเกาหลีใต้ เมื่อปี 2557 และต่างแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้เชิงวิชาการซึ่งกันและกันอย่างสม่ำเสมอ สำหรับสมาคมประกันชีวิตไทย และสมาคมประกันชีวิตอินโดนีเซีย ต่างเป็นหนึ่งในสมาชิกของ ASEAN Insurance Council (AIC) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มระหว่างสมาคมประกันภัยของประเทศในภูมิภาคอาเซียน มีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ประกอบด้วย กัมพูชา บรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย สปป ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดย AIC จะมีการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ตลอดจนทิศทางของธุรกิจประกันภัยในกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งสมาคมประกันชีวิตไทยได้ส่งผู้บริหารจากสมาคมเข้าร่วมกิจกรรมในทุกปี นำมาซึ่งความร่วมมือในหลายๆ ด้าน ก่อให้เกิดการพัฒนาของธุรกิจประกันชีวิตในอาเซียน ให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพต่อไป
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า เชื่อว่ามีหลายๆท่านกำลังนับวันถอยหลัง หรือตั้งตารอช่วงวันหยุดยาวอย่างเทศกาลสงกรานต์กันอย่างใจจดใจจ่อ บ้างก็กำลังวางแผนขับรถไปท่องเที่ยว หรือกลับภูมิลำเนาเพื่อไปเยี่ยมเยียนครอบครัว ซึ่งการเดินทางไกล ๆ ย่อมมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน จากการสำรวจผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุพบว่าจุดที่เกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่ มักจะอยู่ห่างจากบ้านหรือที่พักไม่เกิน 5 กิโลเมตร โดยมีสาเหตุมาจากเมาแล้วขับ ขับรถเร็ว รวมถึงผู้ใช้รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกกันน็อกสูงถึง 75 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของแต่ละปีที่ผ่านมานั้น มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ซึ่งในจำนวนดังกล่าวจะมีผู้ทำประกันชีวิตค่อนข้างน้อย โดยช่วง 7วันอันตราย ระหว่างวันที่ 11 ถึง 17 เมษายน 2561 ที่ผ่านมานั้น มีอุบัติเหตุรวม 3,724 ครั้ง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 418 ราย และในจำนวนผู้ที่เสียชีวิตทั้งหมด มีผู้ทำประกันชีวิตไว้เพียง 86 ราย เป็นเงินสินไหมมรณกรรมสุทธิกว่า 25 ล้านบาท จะเห็นได้ว่ายังมีประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีความคุ้มครองจากประกันชีวิต และเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น ความเสียหายที่เกิดจากการสูญเสียก็จะส่งผลกระทบไปยังผู้ที่อยู่ข้างหลังแบบระลอกคลื่น
ดังนั้น จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนทุกท่านตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของวางแผนบริหารความเสี่ยงด้วยการซื้อประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุก่อนการเดินทางทุกครั้ง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการเดินทาง เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น อย่างน้อยคนละ 1 กรมธรรม์ อาจเป็นการทำประกันชีวิตแบบสามัญทั่วไป หรือประกันภัยอุบัติเหตุ ซึ่งในปัจุบันเบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุมีราคาถูกมากโดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะถึงนี้ สำนักงาน คปภ. ได้ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ส่งมอบความสุขและสร้างความอบอุ่นใจในการเดินทางให้กับประชาชน ในรูปแบบของกรมธรรม์ประกันภัยที่มีราคาถูก กรมธรรม์ประกันภัย “สงกรานต์...ถูกใจ” (ไมโครอินชัวรันส์) จ่ายเบี้ยประกันภัยเพียง 7 บาท แต่ให้ความคุ้มครองสูงสุดถึง 100,000 บาท อายุการรับประกันภัยตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ ถึง 70 ปีบริบูรณ์ ณ วันที่ทำการประกันภัย ระยะเวลาการทำสัญญาประกันภัยตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2562 โดยมีบริษัทประกันชีวิตที่ร่วมจำหน่ายกรรมธรรม์ดังกล่าว 4 บริษัท ได้แก่ บมจ. เมืองไทยประกันชีวิต , บจ. เอไอเอ , บมจ. ไทยสมุทรประกันชีวิต ,บมจ. กรุงเทพประกันชีวิต และในโอกาสนี้สมาคมประกันชีวิตไทยขอฝากถึงผู้ที่ได้ซื้อประกันชีวิตเอาไว้แล้ว โปรดตรวจสอบกรมธรรม์ของท่านว่าถึงกำหนดชำระเบี้ยในงวดต่อไปแล้วหรือไม่ เพื่อให้กรมธรรม์ประกันภัยนั้นมีผลบังคับอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ท่านและครอบครัวเกิดความอุ่นใจตลอดการเดินทางในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึงนี้
สมาคมประกันชีวิตไทยแจ้งคนทำประกันชีวิตน้อย ส่งผลกระทบในวงกว้างก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก โดยล่าสุดช่วง 7 วันอันตราย ( ระหว่างวันที่ 11 ถึง 17 เมษายน 2562) ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น 386 รายและในจำนวนผู้ที่เสียชีวิตทั้งหมดมีผู้ทำประกันชีวิตไว้เพียง97 รายเป็นเงินสินไหมมรณกรรมสุทธิ 36,645,453.43 ล้านบาท
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่าเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมาถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนต่างพากันเก็บเกี่ยวความสุขและเติมพลังให้ชีวิต เพื่อกลับมาทำหน้าที่ของตนเองต่อไป แต่สำหรับบางครอบครัวกลับต้องเริ่มต้นปีด้วยความโศกเศร้าเนื่องจากต้องสูญเสียผู้ซึ่งเป็นที่รักไปอย่างกะทันหัน ทั้งนี้ ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 (ศปถ.) ได้รายงานว่าช่วง 7 วันอันตราย ระหว่างวันที่ 11 ถึง 17 เมษายน 2562 ที่ผ่านมามีอุบัติเหตุเกิดขึ้น 3,338 ครั้ง มีผู้บาดเจ็บ 3,442 ราย และมีผู้เสียชีวิตทั้งสิ้น 386 ราย โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ ดื่มแล้วขับ ร้อยละ 36.61 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 28.31 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 79.25ซึ่งพบว่าในจำนวนผู้ที่เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุมีผู้ที่ทำประกันชีวิตไว้เพียง 97 รายเท่านั้น ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 25.13 ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด โดยมีจำนวนสินไหมประกันชีวิตรวมทั้งสิ้น 36,645,453.43 ล้านบาท ทั้งนี้ จากการวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) พบว่ายอดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนใน 1 ปี เฉลี่ยประมาณ 20,000 กว่าราย ส่วนผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนนใน 1 ปี เฉลี่ยประมาณ 100,000 กว่าราย และเมื่อเอาตัวเลขทั้ง 2 ส่วนมารวมกันจะพบยอดความสูญเสียต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยมีมากกว่า 500,000 ล้านบาท/ปี ดังนั้น การประกันชีวิตและการประกันอุบัติเหตุจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการลดภาระและการสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดี
จากข้อมูลเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่า การรวมพลังของทั้งภาครัฐและเอกชนที่ช่วยกันรณรงณ์ให้ขับขี่ปลอดภัยและรณรงค์ให้ประชาชนวางแผนคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สินในช่วงต้นเทศกาลสงกรานต์ ส่งผลให้ปีนี้ความสูญเสียมีลดลงมากกว่าเมื่อปี 2561 ทั้งๆ ที่ปริมาณรถวิ่งเข้าออกกรุงเทพมหานครมีสูงมากกว่าทุกปีถึง 7 ล้านคัน และถึงแม้การสูญเสียมีจำนวนน้อยลง แต่การจ่ายเงินค่าสินไหมมรณกรรมกลับมีจำนวนมากขึ้น นั่นแสดงให้เห็นว่าประชาชนเริ่มทำประกันชีวิตมากขึ้น แต่ถึงอย่างไรจำนวนผู้ที่มีประกันชีวิตก็ยังมีอยู่ไม่มากเมื่อเทียบกับประชากรในประเทศโดยคนส่วนใหญ่มักมุ่งให้ความสำคัญกับทรัพย์สินมากกว่าชีวิต ดังนั้น สมาคมประกันชีวิตไทยจึงขอเชิญชวนและย้ำเตือนให้ประชาชนทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการมีประกันชีวิต ทั้งนี้ก่อนตัดสินใจซื้อประกันโปรดศึกษาดูรายละเอียดแบบประกันที่เหมาะสมกับความต้องการและกำลังจ่ายของตนเอง โดยไม่ควรเกิน 10-15% ของรายได้รวมทั้งปี เพื่อให้ประกันชีวิตที่ทำมีผลบังคับใช้อย่างสมบูรณ์จนครบสัญญา
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายสุทธิ รจิตรังสรรค์
เหรัญญิกและกรรมการประจำคณะแพทย์ที่ปรึกษา เป็นประธานจัดงาน
การบรรยายพิเศษด้านวิชาการ เรื่อง Kidney transplant Donor & Being of an organ donor Automatically
ซึ่ง ผศ.นพ.ณัฐวุฒิ โตวนำชัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ให้เกียรติเป็นวิทยากร ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ทางการแพทย์ ให้กับแพทย์
และบุคคลากรของบริษัทประกันชีวิต
เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้กับการพิจารณารับประกันภัยและพิจารณาสินไหมได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ณ ห้องสาทร โรงแรมคราวน์พลาซ่า กรุงเทพ ลุมพินี ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2562
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการกฎหมาย คณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต
และคณะอนุกรรมการพิจารณารับประกันภัย จัดโครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง "แนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองโรคร้ายแรงของภาคธุรกิจประกันชีวิต”
ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ นายจักรพงษ์ ชาวงษ์ ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
นายภัทรพงศ์ ลือชัย นิติกรปฏิบัติการ กองกฎหมาย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
และนายอดิศร พิพัฒน์วรพงศ์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกฎหมายและคดี สํานักงาน คปภ. ร่วมบรรยายและเสวนาในหัวข้อ
“ผลกระทบกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต่อภาคธุรกิจประกันชีวิต” เพื่อเสริมสร้างความรู้
ความเข้าใจ เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27
พฤษภาคม 2562 นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก นายแพทย์คงศักดิ์ เตชะวิบูลย์ผล
แพทย์ที่ปรึกษา บมจ.กรุงเทพประกันชีวิต เป็นวิทยากรบรรยายวิชาการ เรื่อง “สัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรงแบบมาตรฐาน”
เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับคำนิยามและสัญญาเพิ่มเติมโรคร้ายแรงแบบมาตรฐาน
ให้กับบุคลากรของภาคธุรกิจนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
โดยมีนายสหพล สังข์เมฆ กรรมการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทยเป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนา
เมื่อวันที่ 7 - 8 มิถุนายน 2562 ณ โรงแรมบางแสนเฮอริเทจ
จังหวัดชลบุรี
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการคณิตศาสตร์ประกันภัย จัดโครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “Profit-Test
Model” ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายพิเชฐ เจียรมณีทวีสิน ประธานกรรมการผู้จัดการ บริษัท แอคชัวเรียล
บิสซิเนส โซลูชั่น จำกัด เป็นวิทยากรให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบ ภาพรวมและรายละเอียดการคำนวณเบี้ยประกันชีวิตในแต่ละผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตตามแนวทางการกำกับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ที่มีนโยบายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตให้เป็นไปตามมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยสากล
Insurance Core Principles (ICP) ตลอดจนเพื่อให้กระบวนการการยื่นขอรับความเห็นชอบในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตมีความสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
ซึ่งการจัดอบรมครั้งนี้ได้มีผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันชีวิตที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการคิดรูปแบบกรมธรรม์และกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยเข้ารับฟังความรู้ดังกล่าว
เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ณ ห้องประชุมชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) สมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน พร้อมด้วยกองทุนประกันชีวิต
ระดมบุคคลากรในธุรกิจประกันชีวิตร่วมกันบริจาคโลหิตช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ
ครั้งที่ 20 ประจำปี 2562
ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2562 ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ อุปนายกฝ่ายวิชาการ
สมาคมประกันชีวิตไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติครั้งที่ 20 (พ.ศ.2562) กล่าวว่า ภาคธุรกิจประกันชีวิตได้มุ่งเน้นและส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพทางการเงินที่ดี
รวมไปถึงการมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ดังนั้นจึงได้จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์ด้วยการบริจาคโลหิตอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ จากข้อมูลปี 2561 ที่ผ่านมา ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติได้รับบริจาคโลหิตจากทั่วประเทศกว่า
2.6 ล้านยูนิต แต่จำนวนโลหิตที่ได้รับก็ยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ เนื่องจากยอดผู้บริจาคโลหิตมีมาบริจาคไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งปี
ทำให้บางช่วงเวลามีปริมาณโลหิตสำรองไม่เพียงพอ จากสถิติศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติพบว่ามีผู้บริจาคโลหิตปีละ
1 ครั้ง อยู่ร้อยละ 55 ขณะที่มีผู้บริจาคโลหิตปีละ 4 ครั้ง เพียงร้อยละ 8 เท่านั้น
ดังนั้นภาคธุรกิจประกันชีวิตได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดกิจกรรมสาธารณะกุศลบริจาคโลหิตเนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีเหมือนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของภาคธุรกิจประกันชีวิต
โดยมี 4 แกนนำในการจัดงานได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.), สมาคมประกันชีวิตไทย, สมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน พร้อมด้วยกองทุนประกันชีวิต
โดยกิจกรรมบริจาคโลหิตเนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาตินี้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่
20 ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สำหรับงานในส่วนกลางจะจัดขึ้นในวันที่ 3 กรกฎาคม
2562 ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ตั้งแต่เวลา 09.00 – 15.30 น.
และในส่วนภูมิภาคได้ดำเนินกิจกรรมรณรงค์และบริจาคโลหิตระหว่างมิถุนายนถึงสิงหาคม
2562 ซึ่งปีนี้ได้มีการวางเป้าหมายจำนวนผู้เข้าบริจาคโลหิตไว้ไม่ต่ำกว่า 6,000
คนและปริมาณโลหิตที่จะได้รับประมาณ 3 ล้านซีซี ในโอกาสนี้จึงขอเชิญชวนประชาชนและบุคลากรในธุรกิจประกันชีวิต
ที่มีอายุตั้งแต่ 17 ปีบริบูรณ์ - 70ปี มีสุขภาพสมบูรณ์ ไม่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์
หรือให้นมบุตร และไม่ใช้ยาปฏิชีวนะ ร่วมกันแสดงพลังจิตอาสา บริจาคโลหิตช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์กันเยอะๆนะครับ”
สมาคมประกันชีวิตไทยผนึกพลังภาคธุรกิจประกันชีวิตจัดกิจกรรมบริจาคโลหิต
เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ
ครั้งที่ 20 (พ.ศ.2562) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) (ที่ 3 จากซ้าย) นางสาววราวรรณ เวชชสัสถ์ รองเลขาธิการ ด้านตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) (ที่ 1 จากขวา) พร้อมด้วย นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
(ที่ 3 จากขวา) นายบัณฑิต
เจียมอนุกูลกิจ อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมประกันชีวิตไทยและประธานคณะกรรมการจัดงาน
วันประกันชีวิตแห่งชาติครั้งที่ 20 (พ.ศ.2562) (ที่ 2 จากซ้าย) นำคณะผู้บริหาร พนักงาน
และตัวแทนประกันชีวิต ร่วมทำความดีด้วยการบริจาคโลหิต เพื่อช่วยชีวิตเพื่อมนุษย์
ทั้งนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยตั้งเป้าหมายจำนวนผู้บริจาคโลหิตไม่น้อยกว่า 6,000 คนและปริมาณโลหิตที่จะได้รับ 3 ล้านซีซี โดยมีนาวาโทหญิงแพทย์หญิงอุบลวัณณ์
จรูญเรืองฤทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย (ที่ 2 จากขวา) กล่าวต้อนรับ
ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2562
ณ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
นางนุสรา (อัสสกุล)
บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมคณะผู้บริหารสมาคมฯ ร่วมแสดงความยินดีกับ
นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ณ ห้องประชุม 3002
ชั้น 30 สำนักงาน ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 2
กรกฎาคม 2562
นายจรุง
เชื้อจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพของศูนย์ประสานงานกลาง
(Claim
Center) ในการจัดเก็บค่ารักษาพยาบาลชาวต่างชาติสำหรับสถานพยาบาลภาครัฐในเขตสุขภาพที่
10 จัดโดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ในหัวข้อ “แนวทางและการเตรียมความพร้อมรองรับการทำ
Fax Claim ของสถานพยาบาลภาครัฐ
รวมทั้งความพร้อมของบริษัทประกันภาคเอกชนในเขตสุขภาพที่ 10” เพื่อให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลได้มีความรู้ด้านบริการเคลมประกันต่างๆ
และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อวันที่ 3 - 4 กรกฎาคม 2562 ณ โรงพยาบาลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ
จังหวัดอุบลราชธานี
นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ประจำปี
2562 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ประชาชนในชุมชนต่างๆ ของประเทศ ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย
อีกทั้งสามารถใช้การประกันภัยเป็นครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
รวมถึงครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ณ ชุมชนบางกระดี่ แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน
กรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2562
สมาคมประกันชีวิตไทยจับมือมหาวิทยาลัยมหิดล ในการผลิตบุคลากรคุณภาพเข้าสู่ธุรกิจประกันชีวิต
โดยนางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิต ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในการส่งเสริมการส่งเสริม
สนับสนุน พัฒนาและผลิตบุคลากรประกันชีวิต กับ รองศาสตราจารย์ ดร.สิทธิวัฒน์ เลิศศิริ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อร่วมกันส่งเสริม สนับสนุน
และพัฒนาความรู้ทางวิชาชีพประกันชีวิตให้กับนิสิต นักศึกษา เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจให้ยั่งยืนและมีเสถียรภาพ
ณ ห้องประชุม 601 ชั้น 6 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2562
ภาคธุรกิจประกันชีวิตร่วมกันจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ
ครั้งที่ 20 (พ.ศ.2562) โดยได้รับเกียรติจาก นายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) (ที่ 4 จากซ้าย)
พร้อมด้วย นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย (ที่ 3 จากขวา)
นายบัณฑิต เจียมอนุกูลกิจ อุปนายกฝ่ายวิชาการ
สมาคมประกันชีวิตไทยและประธานคณะกรรมการจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติครั้งที่ 20 (พ.ศ.2562) (ที่ 3 จากซ้าย) นางบงกช บวรฤกษ์
นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน (ที่ 2 จากขวา) นำผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตจากบริษัทประกันชีวิตชั้นนำ
พร้อมยกทัพตัวแทนประกันชีวิตมืออาชีพร่วมแนะนำวางแผนทางการเงินและบริหารความเสี่ยงด้วยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
ภายใต้แนวคิด “INSURANCE OF LOVE ENSURE YOUR LOVE, ENJOY YOUR LIFE ประกันชีวิต ด้วยรัก ประกันความสุข ด้วยใจ” ระหว่างวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2562 ณ บริเวณชั้น G โซน
A-B-C ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา
เวสต์เกต จ.นนทบุรี
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ธุรกิจประกันชีวิตเป็นหนึ่งในสถาบันการเงินที่มีความสำคัญต่อการวางแผนทางการเงิน
และช่วยบรรเทาความเสี่ยงทางด้านการเงิน เสริมสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต
และเป็นแรงหนุนให้เศรษฐกิจของประเทศได้ขับเคลื่อนด้วยการลงทุนต่อโครงการสาธารณูปโภคของภาครัฐ
ซึ่งการดำเนินงานของธุกิจประกันชีวิตนั้นจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรจากหลากหลายสาขา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่จัดว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
ดังนั้น
สมาคมประกันชีวิตไทยในฐานะองค์กรกลางของธุรกิจได้เล็งเห็นความสำคัญของการผลิตบุคลากรคุณภาพเข้าสู่ธุรกิจ
จึงได้ประสานความร่วมมือไปยังสถาบันการศึกษาต่างๆ ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน
ความร่วมมือทางวิชาการในการส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและผลิตบุคลากรจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ตลอดจนการศึกษาดูงาน
และจัดสรรงบประมาณเป็นทุนการศึกษาและรางวัลการศึกษาให้กับนิสิต
นักศึกษาที่เรียนดีสอบได้คะแนนสูงสุดในสาขาประกันภัย
และวิชาที่เกี่ยวข้องกับการประกันชีวิต รวมทั้งนิสิต นักศึกษาที่สอบผ่านหลักสูตร Associates of Society of Actuaries (ASA)
Course 1 และ Course 2
จากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ โดยในปีนี้
สมาคมประกันชีวิตไทยได้ให้การสนับสนุนมอบทุนการศึกษา
และรางวัลการศึกษาประจำปีการศึกษา 2561 ด้วยงบประมาณกว่า 570,000 บาท รวม 75 รางวัล ให้กับ 14 สถาบันที่เปิดสอนสาขาการประกันภัย
และสาขาการประกันชีวิต ทั้งนี้
สมาคมประกันชีวิตไทยได้ดำเนินโครงการมอบทุนและรางวัลการศึกษาให้กับเยาวชนที่ศึกษาด้านคณิตศาสตร์ประกันภัยมาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า
44 ปี โดยพิธีมอบทุนและรางวัลการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2561 จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 31
กรกฎาคม 2562 ณ โรงแรม สวิสโฮแต็ล กรุงเทพฯ รัชดา
ซึ่งสมาคมฯ
ขอแสดงความยินดีกับเยาวชนที่มีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย
พร้อมแนะช่องทางการเติบโตทางด้านนักวิเคราะห์สถิติข้อมูลซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของภาคธุรกิจ
และยังคงมุ่งหวังให้สถาบันการศึกษาผลิตเยาวชนที่มีความสามารถทางด้านนี้ต่อไป นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
กล่าวในตอนท้าย
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ประจำปี 2562 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ประชาชนในชุมชนลำไยมัดปุ๊ก อ.สันป่าตอง
จังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย
อีกทั้งสามารถใช้การประกันภัยเป็นครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
รวมถึงครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ณ ชุมชนลำไยมัดปุ๊ก อ.สันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2562
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะแพทย์ที่ปรึกษา จัดบรรยายพิเศษเรื่อง The Truth About
CHOLESTEROL & Why We Need It ซึ่งได้รับเกียรติจาก พญ.วาสนา
ลือประสิทธิ์สกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางการแพทย์
ให้กับแพทย์และบุคลากรของบริษัทประกันชีวิต
เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้กับการพิจารณารับประกันภัยและพิจารณาสินไหมได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ณ ห้องกรรณิการ์ ชั้น 1 โรงแรมแมนดาริน ถ.พระราม กรุงเทพฯ 4 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2562
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า 6 เดือนแรกปี 2562 (มกราคม – มิถุนายน) ธุรกิจประกันชีวิตผลิตเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น
295,612.96 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 6
เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา จำแนกเป็นเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่
จำนวน 84,001.56 ล้านบาท อัตราเติบโตลดลงร้อยละ 8 และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไปจำนวน
211,611.40 ล้านบาท อัตราเติบโตลดลงร้อยละ 5 ซึ่งมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ประกันชีวิตร้อยละ
78 สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ ประกอบด้วย
(1)
เบี้ยประกันภัยรับปีแรก จำนวน 48,699.04 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
3.43
(2)
เบี้ยประกันภัยรับชำระครั้งเดียว จำนวน 35,302.52
ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 20
โดยจำแนกเป็นเบี้ยประกันภัยรับตามช่องทางการจำหน่าย
ดังนี้
อันดับ 1 การขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต จำนวน 143,810.66 ล้านบาท
สัดส่วนร้อยละ 48.65
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.84 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 2 การขายผ่านธนาคาร จำนวน 128,321.78 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 43.41
หรือเติบโตลดลงร้อยละ
15.88
เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 3 การขายผ่านช่องทางอื่นๆ 16,131.74 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 5.46
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
7.13 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 4 การขายผ่านช่องทางการตลาดแบบตรง 7,348.97 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 2.49
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.21 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้
ช่องทางการจำหน่ายที่มีการขยายตัวต่อเนื่อง คือ ช่องทางการขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต
และช่องทางการจำหน่ายอื่นๆ ที่หลากหลายขึ้น โดยช่องทางที่มีแนวโน้มสดใสคือ
ช่องทางดิจิทัลหรือช่องทางอินเตอร์เน็ต
เนื่องจากเป็นช่องทางที่สามารถตอบโจทย์ให้กับลูกค้าที่ใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลได้เป็นอย่างดี
ซึ่งสถานการณ์ของธุรกิจประกันชีวิตในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา
ค่อนข้างที่จะได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว เป็นผลมาจากการส่งออกที่ลดลงอันสืบเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา
รวมทั้งและจากปัจจัยแวดล้อมของธุรกิจเอง เช่น การกำกับจากหน่วยงานภาครัฐผ่านประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการออก การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิตและปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันชีวิต
นายหน้าประกันชีวิต และธนาคาร พ.ศ. 2561 (Market Conduct) ที่ส่งผลให้ยอดขายผ่านช่องทางธนาคารลดลง ภาวะความกดดันจากเรื่องมาตรฐานรายงานทางบัญชีและการเงิน
IFRS 9, IFRS 17 การดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (Risk
Based Capital : RBC2) และการเผชิญกับอัตราความเสียหายจากคนกลางและการฉ้อฉลประกันภัย
(Fraud & Abuse) สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องเร่งปรับตัวเพื่อเตรียมรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
จึงเป็นสาเหตุให้อัตราการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตในครึ่งปีแรกไม่เติบโตเท่าที่ควร
สำหรับธุรกิจประกันชีวิตไทยในครึ่งปีหลัง
2562 คาดว่าอัตราการเติบโตจะมีการชะลอตัวต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก
โดยคาดว่าหลายบริษัทจะมีการนำเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบชำระครั้งเดียวด้วยความระมัดระวังจึงทำให้อัตราการเติบโตของเบี้ยประกันภัยชำระครั้งเดียวชะลอตัวอย่างชัดเจน
รวมทั้งเบี้ยประกันภัยต่ออายุก็มีอัตราการเติบโตชะลอตัวเช่นเดียวกัน
และมีอัตราความคงอยู่ที่ไม่สูงมากนัก เนื่องจากมีกรมธรรม์ที่ชำระเบี้ยประกันภัยครบกำหนดแล้วหากแต่ยังมีผลความคุ้มครองอยู่
(Paid
up) เป็นจำนวนมาก ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้เบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ที่ประกอบด้วย
เบี้ยประกันภัยรับปีแรก และเบี้ยประกันภัยรับชำระครั้งเดียว
มีอัตราการเติบโตชะลอตัวตาม ส่วนแนวโน้มผลิตภัณฑ์ที่จะได้รับความนิยมจะเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทความคุ้มครองเป็นหลัก
เช่น ประกันสุขภาพ หรือแบบประกันควบการลงทุน
อย่างไรก็ตามแม้ว่าภาคธุรกิจจะเผชิญกับความท้าทายจากหลากหลายปัจจัย
หากแต่คาดการณ์ว่าธุรกิจประกันชีวิตยังคงมีเบี้ยประกันภัยรับรวมเติบโตเทียบเท่ากับปี
2561 ที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจไทย ในภาพรวมมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้
โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปรับลดประมาณการจีดีพีในปี 2562 ลงที่ 3.3- 3.8% จากเดิมเคยคาดการณ์ไว้ว่าเติบโต 3.5
– 4.5%
แต่ถึงอย่างไรสภาวะเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังก็มีแนวโน้มปรับตัวดีกว่าในช่วงครึ่งปีแรก
ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ที่คาดว่าจะผลักดันนโยบายให้สอดคล้องกับที่พรรคร่วมรัฐบาลเคยหาเสียงไว้ช่วงก่อนการเลือกตั้ง
อาทิ นโยบายประชารัฐ ประกันรายได้พืชผลเกษตร
รวมถึงนโยบายเร่งด่วนเพื่อเยียวยาผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกด้วย
ประกอบกับประเทศไทยในปัจจุบันมีอัตราการถือครองกรมธรรม์ประกันชีวิตอยู่เพียงร้อยละ
39 เท่านั้น
แสดงให้เห็นว่าตลาดประกันชีวิตในประเทศไทยยังสามารถเติบโตได้อีกมาก
นายจรุง เชื้อจินดา
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อวิชาจรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดีในการให้บริการพร้อมกรณีศึกษา ในการอบรมเพิ่มศักยภาพวิทยากรหลักสูตรตัวแทน/นายหน้าประกันภัย
ประจำปี 2562 จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) เพื่อถ่ายทอดความรู้ในเชิงลึก เชิงวิชาการให้แก่วิทยากรของหน่วยงานที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน
คปภ. ให้เป็นหน่วยงานจัดอบรมหลักสูตรขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต
และจัดทำสื่อการสอน ให้เป็นมาตรฐานกลางในการนำไปถ่ายทอดให้กับตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิตเข้าใจได้อย่างถูกต้องและเป็นแนวทางเดียวกัน
ณ ห้องมรกต ชั้น 3 โรงแรม ดิ เอมเมอรัล ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 1
สิงหาคม 2562
นางนุสรา (อัสสกุล)
บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมเป็นเกียรติในงาน MDRT
DAY 2019 ซึ่งเป็นงานสัมมนาประจำปีของสมาชิก Million Dollar
Round Table (MDRT) ประเทศไทยรวมถึงตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงินภายใต้แนวคิดการจัดงาน "SYNCHRONIZE THE FUTURE" ณ
ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม อิมแพ็ค เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2562
นายจรุง
เชื้อจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สมาคมประกันชีวิตไทย นำคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต เข้าพบ รศ.นพ.อภิชาติ จิระวุฒิพงศ์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลศรีนครินทร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและเยี่ยมชมระบบการให้บริการประกันสุขภาพ
พร้อมทั้งมอบตู้กดน้ำร้อน น้ำเย็น ให้กับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จังหวัดขอนแก่น เพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้บริการของโรงพยาบาล เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม
2562 ที่ผ่านมา
นางนุสรา (อัสสกุล)
บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมด้วยผู้บริหารสมาคมฯ
ผู้บริหารของบริษัทสมาชิก และนักคณิตศาสตร์ประกันภัยร่วมประชุมเพื่อชี้แจง
และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) โดยมีนายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการด้านกำกับ
เป็นประธานการประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
สร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการกำกับ ตลอดจนกระบวนการให้ความเห็นชอบผลิตภัณฑ์ประกันภัยรวมถึงแนวทางการปรับปรุงสัญญาประกันสุขภาพ
ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา
นายจรุง เชื้อจินดา
ผู้ช่วยผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย
พร้อมด้วยผู้แทนจากคณะอนุกรรมการประกันภัยกลุ่ม ร่วมประชุมหารือการจัดสวัสดิการประกันภัยกลุ่มสำหรับลูกจ้างในงานประมงกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) สมาคมประกันวินาศภัย และสำนักงานประกันสังคม
โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประกันภัยสำหรับการจัดสวัสดิการประกันภัยกลุ่มสำหรับลูกจ้างในงานประมง
เพื่อกำหนดแนวทางและเงื่อนไขการรับประกันภัยต่อไป ณ ห้องประชุม 302 ชั้น 3
สำนักงาน คปภ. เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2562
นายกิตติ ปิณฑวิรุจน์ เลขาธิการสมาคมประกันชีวิตไทย เป็นประธานเปิดงานโครงการอบรมหลักสูตรการจัดการและการพิสูจน์หลักฐานทางดิจิทัล (Digital
Forensics & Digital Evidence) จัดโดยคณะอนุกรรมการกฎหมาย
ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ นายสมิทธ์ ณ นคร และ มร.แอนดรูส์ สมิทธ์
จากบริษัท Orion Investigations ร่วมบรรยายความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานการทำ
Computer forensic เทคนิคเบื้องต้น และคำศัพท์ต่างๆ ที่ควรทราบให้สามารถเข้าใจความหมายของรายงานทาง Digital
Forensics พร้อมทั้งสามารถประเมินความถูกต้องและความสมบูรณ์ของหลักฐานทางดิจิทัล
ให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมาย
และเจ้าหน้าที่ส่วนงานอื่นที่เกี่ยวข้องของบริษัทสมาชิก เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ณ ห้องประชุม 701 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม
2562
สมาคมประกันชีวิตไทยเสริมฝัน ปั้นอนาคตให้เยาวชนรู้หลักวางแผนการเงิน
สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมกับ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มูลนิธิร่มฉัตร และพันธมิตร จัดโครงการแข่งขันเศรษฐศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 11 ประจำปีการศึกษา 2562 เวทีส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้และทักษะด้านเศรษฐศาสตร์
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การเงินส่วนบุคคล และการประกันชีวิต พร้อมชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี
สิริกิจการิณีพีรยพัฒนรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี พร้อมชิงทุนการศึกษาและศึกษาดูงานต่างประเทศ
รวมมูลค่ากว่า 1,000,000 บาท
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า การศึกษาเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาสังคม
และประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน สมาคมประกันชีวิตไทยจึงได้ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการศึกษามาโดยตลอด
พร้อมส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาในทุกระดับชั้นมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนการศึกษาและรางวัลการศึกษาให้กับนิสิต
นักศึกษาที่เรียนดีสอบได้คะแนนสูงสุดในสาขาประกันภัย และวิชาที่เกี่ยวข้องกับการประกันชีวิตเป็นประจำทุกปี
สำหรับเยาวชนในระดับชั้นประถมและมัธยมศึกษา สมาคมประกันชีวิตไทยได้ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย,
มูลนิธิร่มฉัตร,
คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
โรงเรียนสตรีวิทยา ๒ ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพันธมิตร
จัดโครงการแข่งขัน “เศรษฐศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ” ซึ่งเป็นโครงการที่เปรียบเสมือนเวทีให้เยาวชนที่มีความสนใจด้านเศรษฐศาสตร์
การเงินส่วนบุคคล และการประกันชีวิต ได้มาพัฒนาความรู้เพื่อที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
ทั้งนี้ เศรษฐศาสตร์เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไร
การเข้าใจเศรษฐศาสตร์เป็นเรื่องสำคัญ สำหรับเยาวชนที่เลือกเป็นนักลงทุน หรือ
นักคณิตศาสตร์ประกันภัย การเข้าใจเศรษฐศาสตร์จะทำให้เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
โดยเฉพาะเรื่องการวางแผนรับมือกับความเสี่ยงในอนาคตทั้งกับชีวิตหรือทรัพย์สินก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำกันตั้งแต่วัยเยาว์
เพราะประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ Aging Society
อย่างเต็มรูปแบบแล้ว แต่ยังต้องเผชิญกับปัญหาเก็บออมเงินไม่พอใช้ คนที่ต้องเกษียณอายุการทำงานแต่ไม่มีเงินเก็บจนกลายเป็นภาระให้ลูกหลานก็มีอยู่มาก
ดังข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติที่ระบุว่า ครัวเรือนทั่วประเทศประมาณ 21.6
ล้านครัวเรือน พบว่ามีครัวเรือนที่มีการออมเงิน 15.7 ล้านครัวเรือนหรือร้อยละ 72.9
และอีก 5.8 ล้านครัวเรือนหรือร้อยละ 27.1 ยังไม่มีเงินออม
เพราะฉะนั้นการให้ความรู้ด้านการวางแผนทางการเงินตั้งแต่เนิ่นๆ จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
สำหรับในปี
2562 นี้โครงการแข่งขันเศรษฐศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 11 และได้เปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมแข่งขันไปเมื่อวันที่
16 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม 2562 ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีที่โครงการดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักเรียนทั้งในกรุงเทพฯ
ปริมณฑลและต่างจังหวัดสนใจเข้าสมัครเพิ่มขึ้นทุกๆปี โดยในปีนี้มีนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้ความสนใจเข้าสมัครทั้งสิ้น
5,641 คน จาก 1,257 โรงเรียนทั่วประเทศ โดยจะมีการจัดการแข่งขันคัดเลือกผู้ชนะของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่
1 - 6 ในวันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม 2562 และจัดการแข่งขันคัดเลือกผู้ชนะของระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 - 6 ในวันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม 2562 ณ โรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มอบรางวัลสมาคมการค้ายอดเยี่ยม
ประจำปี 2562 ให้แก่ นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย รางวัลดังกล่าวจัดโดย กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ร่วมกับ
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาสมาคมการค้าให้สามารถแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืน
ซึ่งสมาคมประกันชีวิตไทยสามารถผ่านเกณฑ์การประเมินตามหลัก Balanced Scorecard ทั้ง 4 มิติ คือ 1) ผลสำเร็จตามพันธกิจ
2) ความสามารถในการบริหารจัดการ 3) คุณภาพการให้บริการ 4) การพัฒนาองค์กร ทั้งนี้ สมาคมฯ
ได้รับรางวัลดังกล่าวเป็นสมัยที่ 3 หลังจากได้รับมาแล้วเมื่อปี 2558 , 2560
ณ ห้องเวิลด์ บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ เมื่อวันที่
20 สิงหาคม 2562
นายจรุง เชื้อจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ประจำปี 2562 ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ประชาชนในชุมชนท่าเทียบเรือประมงสงขลา อ.เมือง
จังหวัดสงขลา ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย
อีกทั้งสามารถใช้การประกันภัยเป็นครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
รวมถึงครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ณ ชุมชนท่าเทียบเรือประมงสงขลา อ.เมือง
จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมพิธีเปิดโครงการแข่งขันเศรษฐศาสตร์เพชรยอดมงกุฎ ครั้งที่ 11 ประจำปีการศึกษา 2562 เวทีแสดงความรู้ความสามารถในเชิงเศรษฐศาสตร์ การวางแผนการเงินส่วนบุคคล การวางแผนประกันชีวิต เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขันสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้สร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับตนเองและครอบครัว สอดคล้องกับพันธกิจหลักของสมาคมฯ ในการส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าการประกันชีวิต (Insurance Literacy) สำหรับผู้ชนะการแข่งขันจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐา
ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒนรัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี ทุนการศึกษา และศึกษาดูงานต่างประเทศรวมมูลค่ากว่า 1,000,000 บาทเมื่อวันที่ 24-25 สิงหาคม 2562 ณ โรงเรียนสตรีวิทยา 2 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
โดยผู้ที่ได้รับรางวัลในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ได้แก่
1. เด็กชายณณัฐรัชต์ แวววีรคุปต์ โรงเรียนอนุบาลสุธีธร
2. เด็กชายพสิษฐ์ แสงประชาธนารักษ์ โรงเรียนต้นกล้าแห่งปัญญา
3. เด็กชายชวณัฏฐ์ อยู่สวัสดิ์ โรงเรียนบีคอนเฮาส์แย้มสอาดหัวหิน
ผู้ชนะระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ได้แก่
1. เด็กหญิงวรินทร พิมลศรี โรงเรียนสาธิตมศว.ประสานมิตรฝ่ายประถม
2. เด็กหญิงกชพร อุรโสภณ โรงเรียนอนุบาลอุบลราชธานี
3. เด็กหญิงนันทภัค ธนวัฒโน โรงเรียนราชินีบน
ผู้ชนะระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ได้แก่
1. เด็กหญิงสุตาภัทร ตั้งอมรสิทธิชัย โรงเรียนเบญจมาราชูทิศจังหวัดจันทบุรี
2. เด็กหญิงวงศยา ศิริรัตน์ โรงเรียนราชินี
3. เด็กชายวรรุจน์ ตลึงจิตร โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์สิงหเสนี)
ผู้ชนะระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 ได้แก่
1. นางสาวพิชญา ปรมาเวศ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
2. นายรณกฤต พงศ์พุทธชาด โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
นายจรุง เชื้อจินดา
ผู้ช่วยผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมวิพากษ์กลุ่มวิทยากรของบริษัทประกันชีวิตที่เข้ารับการทดสอบทักษะการเป็นวิทยากรหลังได้รับการอบรมเพิ่มศักยภาพวิทยากรหลักสูตรตัวแทน/นายหน้าประกันภัย ประจำปี 2562
ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) พร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณและแนวทางปฏิบัติที่ดี เพื่อให้รูปแบบการถ่ายทอดความรู้สู่ตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิตเป็นมาตรฐานกลางอย่างถูกต้องและเป็นแนวทางเดียวกัน ณ ห้องมรกต ชั้น 3 โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่
27 สิงหาคม 2562
นายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย ให้การต้อนรับนายสุชาติ
เลาบริพัตร ผู้อำนวยการสำนักผู้เชี่ยวชาญ (รก.นายแพทย์เชี่ยวชาญ) หัวหน้าคณะสังกัด
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งนำคณะนักยุทธศาสตร์ฯ จากโครงการพัฒนานักยุทธศาสตร์เพื่อการปฏิรูปประเทศเชิงบูรณาการ (Strategist Development
Program) ประจำปี 2562 เข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการการเชื่องโยงของข้อมูลระบบประกันสุขภาพของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและรูปแบบการ Claim ค่ารักษาพยาบาล เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ข้อมูลในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมบริการสุขภาพของประเทศแบบครบวงจรต่อไป
ณ ห้องประชุม 601 สมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 03 กันยายน
2562
นางนุสรา (อัสสกุล)
บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ประจำปี
2562 ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ลงพื้นที่เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ประชาชนในชุมชนตลาดน้ำบางคล้า
อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย อีกทั้งสามารถใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
รวมถึงครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ณ ชุมชนตลาดน้ำบางคล้า อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2562
นางนุสรา (อัสสกุล)
บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน“สัปดาห์ประกันภัยประจำปี 2562” ซึ่งจัดโดยสำนักงาน คปภ.
และภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ระหว่างวันที่ 27-29 กันยายน 2562 ณ ฮอลล์ 5 อิมแพค
เมืองทองธานี ภายใต้แนวคิด“พลิกโฉมประกันสุขภาพ ด้วยเทคโนโลยีประกันภัย” HEALTH
INSURANCE WITHOUT BOUNDARIES : INSURANCE CONNECT โดยมี 13
บริษัทประกันชีวิตร่วมออกบูธเพื่อแนะนำความรู้เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน บริหารความเสี่ยงด้วยการประกันชีวิตและประกันสุขภาพผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่
ซึ่งภายในงานยังมอบโปรโมชั่นสุดพิเศษทั้งส่วนลดจากค่าเบี้ยประกันภัย ของขวัญ
ของรางวัลและสิทธิชิงโชครถยนต์ BMW X1 และของรางวัลอื่นๆ เมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต-ประกันภัยในงานด้วยเบี้ยประกันภัยตั้งแต่
500 บาทขึ้นไป พร้อมพบกับความบันเทิงจากศิลปินรับเชิญ อาทิ
ติ๊ก เจษฎาภรณ์ , หมาก ปริญ เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2562 ณ
ห้องประชุมสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ชั้น 2 สำนักงาน คปภ.
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมแสดงความยินดีกับสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา สบน. ครบรอบ 17 ปี พร้อมร่วมสมทบทุนเพื่อสาธารณประโยชน์
โดยมีนายภูมิศักดิ์ อรัญญาเกษมสุข ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 4 ชั้น 4 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ถนนพระรามที่ 6
กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2562
นางนุสรา (อัสสกุล)
บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ให้การต้อนรับ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ
เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
ในโอกาสเยี่ยมชมบูธสมาคมฯ ซึ่งจัดแสดงนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินและบริหารความเสี่ยงด้วยการประกันชีวิต
ประกันสุขภาพ ในงานสัปดาห์ประกันภัยปี 2562 โดยความร่วมมือของสำนักงาน คปภ.และภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ภายใต้แนวคิด “พลิกโฉมประกันสุขภาพ ด้วยเทคโนโลยีประกันภัย”
HEALTH INSURANCE
WITHOUT BOUNDARIES : INSURANCE CONNECT ระหว่างวันที่ 27-29
กันยายน 2562 ณ ฮอลล์ 5 อิมแพค เมืองทองธานี
สมาคมประกันชีวิตไทย ขอแสดงความยินดีกับบริษัทสมาชิกที่ได้รับรางวัลประกันภัยดีเด่นครบวงจร (Prime Minister’s Insurance Awards) ประจำปี 2562 โดยได้รับเกียรติจาก นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานมอบรางวัลอันทรงเกียรติยศ เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณและเชิดชูเกียรติองค์กรด้านการเป็นผู้ประกอบการที่ให้บริการด้านการประกันภัยดีเด่นครบวงจร ซึ่งปีนี้มีบริษัทประกันชีวิตที่ได้รับรางวัลทั้งสิ้น 6 บริษัท จาก 7 รางวัลเกียรติยศ ประกอบด้วย
บริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น ประจำปี 2561 อันดับ 1
บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2561 อันดับ 2
บริษัท เอไอเอ จำกัด
บริษัทประกันชีวิตที่มีการบริหารงานดีเด่น
ประจำปี 2561 อันดับ 3
บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัทประกันชีวิตที่มีการพัฒนาดีเด่น
ประจำปี 2561
บริษัท
ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัทประกันชีวิตที่นำเทคโนโลยีมาใช้กับระบบการประกันภัยดีเด่น
ประจำปี 2562
บริษัท
อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน)
บริษัทประกันภัยที่มีการส่งเสริมกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อประชาชนดีเด่น
ประจำปี 2561
พลอากาศเอก ชลิต
พุกผาสุข องคมนตรี กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิพระดาบส ให้เกียรติต้อนรับ นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย นายบัณฑิต
เจียมอนุกูลกิจ อุปนายกฝ่ายวิชาการและประธานจัดงานวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่
20 ประจำปี 2562 ตลอดจนคณะกรรมการพร้อมรับมอบเงินจำนวน 100,000 บาท เนื่องจากการจัดงานดังกล่าว
เพื่อใช้เป็นทุนการศึกษาและค่าใช้จ่ายในการฝึกอาชีพแก่เยาวชนและผู้ด้อยโอกาส ณ
ทำเนียบองคมนตรี ถนนสราญรมย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ
เมื่อวันอังคารที่ 1 ตุลาคม 2562
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะแพทย์ที่ปรึกษา เข้าพบนพ.สุรพล โล่ห์สิริวัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล พญาไท 3
เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกันชีวิต - ประกันสุขภาพ ร่วมกับคณะผู้บริหาร
แพทย์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสุขภาพ การตรวจรักษาผู้เอาประกันภัย ณ
ห้อง We
Before Me ชั้น 5
โรงพยาบาลพญาไท 3 เมื่อวันอังคารที่ 24 กันยายน 2562
สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมออกบูธแสดงนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินและบริหารความเสี่ยงด้วยการประกันชีวิต
ประกันสุขภาพ ในงานสัปดาห์ประกันภัย ประจำปี 2562 (Thailand
Insurance Expo 2019) จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย ภายใต้แนวคิด “พลิกโฉมประกันสุขภาพ
ด้วยเทคโนโลยีประกันภัย” HEALTH INSURANCE WITHOUT BOUNDARIES : INSURANCE
CONNECT ณ ฮอลล์ 5 ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค
เมืองทองธานี
ซึ่งภายในงานมีบริษัทประกันภัยและประกันชีวิตร่วมออกบูธการตลาดนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่มาพร้อมโปรโมชั่นพิเศษ
ลุ้นรับรางวัลเมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตเบี้ยประกันภัยครบ 500 บาท
รับคูปองชิงโชครถยนต์ BMW X1 มูลค่า 2 ล้านบาท
และของรางวัลอื่นๆ อีกมากมาย ตลอดจนพบกับกิจกรรมภาคบันเทิงจากศิลปินต่างๆ ที่ผลัดเปลี่ยนกันขึ้นสร้างสีสันให้กับผู้ร่วมงาน
ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีประชาชนให้การตอบรับและเลือกวางแผนชีวิต
วางแผนการเงิน ปกป้องความเสี่ยงด้วยผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตกันอย่างคึกคัก
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยนางสาวมะยุรี หงษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ มอบเงินจำนวน 100,000 บาทแก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยมีนายสุทธิพล
ทวีชัยการ เลขาธิการ เป็นผู้รับมอบ เพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
เมื่อวันศุกร์ที่ 4 ตุลาคม 2562 ณ อำเภอพิบูลมังสาหาร และ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
สมาคมประกันชีวิตไทย ออกโรงเตือนประชาชนคิดยกเลิกกรมธรรม์ก่อนครบสัญญาเสียสิทธิมากมาย
รวมถึงสิทธิทางภาษี
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า หากผู้เอาประกันภัยต้องการจะยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิต
หรือมีผู้ชักจูงให้ยกเลิกกรมธรรม์เดิมเพื่อไปทำกรมธรรม์ใหม่ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลประการใด
การยกเลิกกรมธรรม์ประกันชีวิตถือเป็นทางออกที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เอาประกันภัย
สมาคมประกันชีวิตไทยขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือบริษัทประกันชีวิตที่ได้ทำสัญญาไว้ถึงแนวทางแก้ไขปัญหาที่ผู้เอาประกันภัยกำลังประสบอยู่
เพราะนอกจากการยกเลิกกรมธรรม์แล้วยังสามารถเลือกใช้มูลค่าเงินสำเร็จ หรือ ใช้มูลค่าขยายเวลาได้อีก ซึ่งทั้ง 2
วิธีจะเป็นตัวช่วยให้ผู้เอาประกันภัยยังคงได้รับความคุ้มครองต่อไปโดยไม่ต้องเสียสิทธิประโยชน์ต่างๆ
อาทิ กรมธรรม์บางแบบมีมูลค่าเวนคืน และการทำกรมธรรม์ฯ
ฉบับใหม่การจ่ายเบี้ยประกันชีวิตก็จะแพงขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้น
รวมถึงจะต้องแถลงข้อความจริงเกี่ยวกับสุขภาพใหม่ ซึ่งจะทำให้บริษัทเริ่มนับระยะเวลาในการใช้สิทธิโต้แย้งใหม่
ทั้งนี้ หากผู้ขอเอาประกันภัยมีปัญหาสุขภาพ บริษัทมีสิทธิปฏิเสธไม่รับประกันภัย
หรือถ้ารับก็อาจต้องชำระเบี้ยประกันภัยในอัตราที่สูงขึ้น และหากซื้อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพจะต้องมีการเริ่มนับระยะเวลารอคอยใหม่อีกด้วย
นอกจากนี้ยังรวมถึงสิทธิเรื่องการลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันภัยจากกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครอง
ตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป
สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่ชำระมาลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุดถึง 100,000 บาท แต่ถ้ามีการยกเลิกหรือเวนคืนประกันชีวิตก่อนครบสัญญา
อาจเสียสิทธิทางภาษีได้
นายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย มอบเงินจำนวน 100,000 บาท ให้แก่ นางณินทิรา โสภณพนิช ประธานกรรมการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการมูลนิธิอนุเคราะห์คนพิการ
ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ
ครั้งที่ 20 ประจำปี 2562
เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์แก่เยาวชนที่อยู่ในความอนุเคราะห์
ซึ่งสมาคมฯได้ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง ณ อาคารมูลนิธิฯ ถนนติวานนท์ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม
2562
สมาคมประกันชีวิตไทย โดย นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมแสดงความยินดีกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
(สศค.) เนื่องในวันคล้ายวันสถาปนา ปีที่ 58 พร้อมร่วมสมทบทุนเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยมีนายลวรณ
แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมป๋วยอึ๊งภากรณ์ ชั้น 7 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม
2562
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยคณะแพทย์ที่ปรึกษา จัดบรรยายพิเศษ
เรื่อง Rational Classification of Simple Diseases
Cases in Bangkok Dusit Medical Services Hospital using Relative Weight and Case
Mixed Index ซึ่งได้รับเกียรติจาก นพ.ชัยยศ คุณานุสนธิ์ และ ทญ.จิณหธาน์
ปัญญาศร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจาก โรงพยาบาลกรุงเทพ เป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องดังกล่าว
พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ทางการแพทย์ ร่วมกับแพทย์และบุคคลากรของบริษัทประกันชีวิต
เพื่อที่จะได้นำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้กับการพิจารณารับประกันภัยและพิจารณาสินไหมได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ณ โรงแรม Le Meridien
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562
สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) และ สมาคมประกันวินาศภัยไทย จัดเสวนา “อนาคตประกันสุขภาพในยุคดิจิทัล (The
Future of Health Insurance in Digital Aged)” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุทธิพล
ทวีชัยการ เลขาธิการ สำนักงาน คปภ. เป็นประธานกล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง
ทิศทางการพัฒนาการประกันสุขภาพในยุคดิจิทัล พร้อมกิจกรรมเสวนาเรื่องอนาคตประกันสุขภาพในยุคดิจิทัลในมุมมองของหน่วยงานภาคกำกับและภาคเอกชน
โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ นายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการด้านกำกับ สำนักงาน
คปภ. นายสาระ ล่ำซำ อุปนายกฝ่ายการตลาด สมาคมประกันชีวิตไทย นายแพทย์ประมุกข์
ทรงจักรแก้ว ประธานคณะแพทย์ที่ปรึกษา สมาคมประกันชีวิตไทย นายโอฬาร วงศ์สุรพิเชษฐ์
รองเลขาธิการ สมาคมประกันวินาศภัยไทย นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมเสวนาเรื่อง “การประกันสุขภาพอย่างยั่งยืนสู่อนาคต”
จากนายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ นายแพทย์สมสกุล ศรีพิสุทธิ์ คณะแพทย์ที่ปรึกษา
สมาคมประกันชีวิตไทย นายแพทย์ธรธเนศ อายานะ รองประธานอาวุโสฝ่ายการแพทย์ บริษัท
ซิกน่า ประกันภัย จำกัด (มหาชน) และนายไพบูลย์
เปี่ยมเมตตา ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายนโยบายและพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย สำนักงาน
คปภ. ซึ่งการสัมมนาดังกล่าวเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจด้านประกันสุขภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพให้สอดคล้องตรงตามความต้องการของประชาชนทั่วไป
ให้กับผู้บริหารจากสำนักงาน คปภ.ภาคและจังหวัด
ตลอดจนเจ้าหน้าที่จากบริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัยกว่า 170 คนเข้าร่วมสัมมนา
ณ โรงแรมคลาสสิค คามิโอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2562
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต จัดโครงการสัมมนาวิชาการเชิงปฏิบัติการ
แนวทางการปฏิบัติตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง
ชนิดหรือประเภทของการรักษาพยาบาล ยาและเวชภัณฑ์ การบริการทางการแพทย์
หรือการบริการอื่นของสถานพยาบาล และสิทธิของผู้ป่วย
ซึ่งผู้รับอนุญาตจะต้องแสดงตามมาตรา 32 (3) พ.ศ. 2561 โดยได้รับเกียรติจาก
นายศิริวัฒน์ ศิริเกตุ ประธานอนุกรรมการสินไหมประกันชีวิต และ นางวัชรา
สถาพรพิริยะเดช ผู้อำนวยการฝ่าย บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
เพื่อให้บุคลากรของบริษัทสมาชิกฝ่ายสินไหมรายบุคคลและประกันกลุ่ม
สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ณ ห้องประชุม 701ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
ให้การต้อนรับและบรรยาพิเศษเรื่องภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตและบทบาทของสมาคมประกันชีวิตไทย
ให้กับคณะนักศึกษาหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) รุ่นที่ 9 ในโอกาสเยี่ยมชมสถานที่และศึกษาดูงาน
ณ ห้องประชุม ชั้น 7 อาคารสมาคมประกันชีวิตไทย เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562
นายสาระ
ล่ำซำ อุปนายกฝ่ายการตลาด และ มล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์
อุปนายกฝ่ายบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือสู่การพิสูจน์และยืนยันตัวตนดิจิทัลของประเทศไทย We
are ready for Thailand Digital ID ระหว่างกลุ่มธนาคารนำร่องกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บริษัทประกันชีวิต
บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติสำนักงาน ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงาน
คปภ. และบริษัทเนชั่นแนลดิจิทัล ไอดี จำกัด โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวอัจฉรินทร์
พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงาน
ณ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ) อาคารเดอะไนน์ ทาวเวอร์ แกรนด์
พระรามเก้า (อาคารบี) ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2562
สมาคมประกันชีวิตไทย โดยนายจรุง เชื้อจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ร่วมแสดงความยินดีกับ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) เนื่องในโอกาสเปิดที่ทำการสำนักงาน
คปภ. จังหวัดหนองคาย ณ อาคารศาลากลางจังหวัดหนองคาย ชั้น 2 ถนนมิตรภาพ ตำบลหนองกอมเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
เพื่อให้บริการต่อประชาชนในพื้นที่ได้เข้าถึงระบบประกันภัยได้อย่างทั่วถึง
รวมทั้งได้รับความคุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านประกันชีวิตและประกันภัยอย่างครบวงจร
เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน2562 ที่ผ่านมา
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมงานแถลงข่าว เปิดตัว
“โครงการรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ประจำปี 2563” ซึ่งจัดโดย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันชีวิต-บริษัทประกันภัย ส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัย
อุ่นใจปีใหม่พลัส
โดยจ่ายเบี้ยประกันภัยเพียงแค่ 7 บาทจะได้รับความคุ้มครอง 4 กรณี คือ
กรณีแรก การเสียชีวิต สูญเสียมือ เท้า สูญเสียสายตา
หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงเนื่องจากอุบัติเหตุไม่รวมการถูกฆาตกรรม
ลอบทำร้ายร่างกายและ/หรือ อุบัติเหตุขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
จะได้รับความคุ้มครอง 100,000 บาท กรณีที่สอง การเสียชีวิต สูญเสียมือ เท้า สูญเสียสายตา หรือ
ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จากการถูกฆาตกรรม ลอบทำร้ายร่างกาย และ/หรือ อุบัติเหตุ
ขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ จะได้รับความคุ้มครอง 50,000
บาท กรณีที่สาม ค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย
(ยกเว้นกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยภายใน 15 วันแรก นับจากวันเริ่มต้นระยะเวลาประกันภัย)
จะได้รับความคุ้มครอง 5,000 บาท และกรณีที่ 4
ผลประโยชน์ค่าชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน
กรณีได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ วันละ 150 บาท (สูงสุดไม่เกิน 30 วัน) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนวางแผนคุ้มครองความเสี่ยงภัยจากชีวิตและทรัพย์สิน
พร้อมสร้างความตระหนักในการป้องกันอุบัติภัยทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่
โดยจัดจำหน่ายตั้งแต่ 15 ธันวาคม 2562 ถึง 31 มกราคม 2563 สำหรับผู้ที่มีอายุ 20 –
70 ปีบริบูรณ์ และมีระยะเวลาความคุ้มครอง 30 วัน นับจากวันที่ทำประกันภัย
โดยมีบริษัทประกันชีวิตที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน) , บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) , บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) , บริษัท เอไอเอ จำกัด ณ
บริเวณโถงชั้น G และลานอเนกประสงค์ สำนักงาน คปภ. เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562
นายจรุง
เชื้อจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคและการมีส่วนร่วมด้านการประกันภัยครั้งที่
1 / 2562 ซึ่งจัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) โดยมีดร.สุทธิพล
ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เป็นประธานการประชุม
เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับระบบการประกันภัยให้มีความโปร่งใส
เป็นธรรม เป็นที่น่าเชื่อถือของประชาชน
และเพิ่มประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านการประกันภัย ณ
ห้องประชุม 207 ชั้น 2 สำนักงาน คปภ. เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2562
นางนุสรา (อัสสกุล)
บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย พร้อมคณะผู้บริหารสมาคมฯ ร่วมแสดงความยินดีกับ
นางสาววสุมวดี วสีนนท์ ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง รองเลขาธิการ
ด้านตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ณ สำนักงาน คปภ. เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2563
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย นำคณะกรรมการบริหาร
และผู้บริหารสมาคมฯ เข้าพบ ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เพื่อร่วมสวัสดีปีใหม่พร้อมหารือแนวทางการกำกับและส่งเสริมธุรกิจประกันชีวิต ณ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2563
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า
ช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลฉลองปีใหม่ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2562 ถึง 2 มกราคม 2563
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
ได้รายงานจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุมีทั้งสิ้น 373 ราย ทั้งนี้
พบว่ามีผู้ที่ได้ทำประกันชีวิตไว้เพียง 93 รายเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 24.93
ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด โดยมีจำนวนสินไหมประกันชีวิตรวมทั้งสิ้นกว่า 44
ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีผู้ประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตรวม
463 ราย แต่ทำประกันชีวิตไว้จำนวน 102 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.03
ของจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด คิดเป็นจำนวนสินไหมประกันชีวิตรวมทั้งสิ้น 52 ล้านบาท
นั่นแสดงให้เห็นว่าประชาชนมีความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีประกันชีวิต
แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีไม่มากพอเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศ
ซึ่งอัตราผู้ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตของชาวไทย ณ ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 39.53
เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆคือ คนไทย 100 คนมีการถือกรมธรรม์ประกันชีวิตอยู่ที่ 39
ฉบับ หากเทียบกับประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างมาเลเซียที่ประชากร 100 คน
ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตอยู่ที่ 40 ฉบับ และประเทศสิงคโปร์ที่ประชากร 100 คน
ถือกรมธรรม์ประกันชีวิตอยู่ที่ 267 ฉบับ เป็นต้น
ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่ายังมีประชาชนชาวไทยอีกจำนวนมากที่ไม่มีความคุ้มครองจากประกันชีวิตไว้รองรับอนาคต
ทั้งๆ ที่การสูญเสียประชากร 1 คนส่งผลกระทบในหลายๆด้าน
ยิ่งถ้าผู้เสียชีวิตเป็นผู้นำครอบครัว ผลกระทบก็จะตามมาเป็นระลอกคลื่นไปยัง ภรรยา
ลูก หรือพ่อแม่
ดังนั้นประกันชีวิตจึงเปรียบเสมือนตัวแทนความรักความห่วงใยที่ผู้เสียชีวิตทำไว้เพื่อชดเชยให้กับช่วงเวลาที่เขาไม่สามารถอยู่เคียงข้างคอยดูแลคนที่รักและห่วงใยได้
ทั้งนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้สูญเสียมา
ณ โอกาสนี้
และสำหรับญาติผู้เสียชีวิตที่มีความประสงค์ต้องการตรวจสอบว่าผู้เสียชีวิตได้ทำประกันชีวิตไว้หรือไม่
สามารถติดต่อมาที่สมาคมประกันชีวิตไทยเพื่อเป็นหน่วยงานกลางตรวจสอบ
โดยแจ้งรายละเอียดชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิตสุดท้ายนี้ขอเชิญชวนให้ประชาชนทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการทำประกันโดยทำประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุอย่างน้อยครอบครัวละ
1 กรมธรรม์ เพื่อวางแผนลดภาระและบรรเทาความเดือดร้อนจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่บริษัทประกันชีวิตหรือสมาคมประกันชีวิตไทย
โทรศัพท์ 02 679 8080 ต่อ 561-563
สมาคมประกันชีวิตไทยแนะปันทรัพย์จากอั่งเปาเป็นเงินออมเพื่ออนาคต
สำหรับเยาวชนที่ได้รับอั่งเปาคงจะดีไม่น้อยหากแบ่งเงินส่วนหนึ่งมาเก็บออมหรือลงทุนเพิ่มมูลค่า
อาจจะในรูปแบบของเงินฝากประจำ การซื้อทอง ซื้อสลากออมสิน
หรือออมทรัพย์ในรูปแบบประกันสะสมทรัพย์ก็จะเป็นวิธีฝึกการออมอย่างมีวินัย
เพราะต้องออมเป็นจำนวนที่เท่ากันในทุกๆ ปี อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีให้เลือกทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ค่อยๆ ทยอยสะสมไว้เป็นเงินก้อนใหญ่ ทำให้สามารถตั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์การใช้เงินได้อย่างแน่นอน
เช่น จะมีทุนการศึกษาหรือทุนประกอบอาชีพในอนาคต โดยข้อดีของการออมในรูปแบบของการทำประกันชีวิตนี้จะช่วยให้เยาวชนรู้จักบริหารความเสี่ยง
เพราะประกันชีวิตนอกจากจะเป็นเงินออมระยะยาวแล้วยังมีความคุ้มครองชีวิตรวมอยู่ด้วย
รวมทั้งยังบังคับตัวเองไม่ให้ถอนเงินก้อนนี้ออกมาใช้ เพราะถ้าถอนหรือยกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดจะทำให้ขาดทุนได้
ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
กล่าวเพิ่มเติมว่า
การรู้จักเก็บออมตั้งแต่ยังเด็กจะทำให้เป็นเศรษฐีตั้งแต่อายุยังน้อย อย่างไรก็ตามการประกันชีวิตเป็นแผนการออมเงินที่ช่วยบริหารความเสี่ยงด้วยสถาบันการเงินอีกประเภทหนึ่งที่มีความมั่นคงไม่แพ้ธนาคาร
และประกันชีวิตก็เป็นสิ่งที่คนทุกเพศทุกวัยควรจะมี
สำหรับผู้ที่สนใจการเก็บออมผ่านประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์สามารถติดต่อสอบถามไปที่บริษัทประกันชีวิต
ซึ่งมีให้เลือกมากมายหลายแบบ
แต่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถในการจ่ายเบี้ยประกันชีวิตของตนเอง
และเนื่องในโอกาสวันตรุษจีน สมาคมประกันชีวิตไทยขออวยพรให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรง
คิดหวังสิ่งใดขอให้สมหวังสมปรารถนา มีแต่ความสุข มั่งคั่ง โชคดี ร่ำรวยตลอดปีครับ
สมาคมประกันชีวิตไทยย้ำประกันชีวิตคุ้มครองลูกค้ากรณีติดเชื้อไวรัส โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019
นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหาร สมาคมประกันชีวิตไทย นำคณะเจ้าหน้าที่สมาคมฯ
ร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีนายจรุง
เชื้อจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสมาคมฯ บรรยายให้ความรู้ พร้อมด้วยนายกิตติ ผาสุขดี
ที่ปรึกษากฎหมายของสมาคมฯ
ร่วมแนะแนวทางการปฏิบัติงานให้สอดรับกับพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การปรับตัวของธุรกิจและนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างถูกต้องและอย่างเหมาะสม
ณ โรงแรม รอยัล ฮิลส์ กอล์ฟ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดนครนายก
นอกจากนี้ยังร่วมทำกิจกรรมเพื่อสังคม “ปันน้ำใจให้น้อง”
ด้วยการมอบทุนอาหารกลางวันจำนวน 30,000 บาท
พร้อมเครื่องอุปโภค – บริโภค ให้แก่น้องๆ นักเรียน โรงเรียนวัดเนินสะอาด
ตำบลเขาเพิ่ม อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก โดยมีนายอภินันท์ ทวีบุญ
อาจารย์โรงเรียนวัดเนินสะอาด เป็นผู้แทนรับมอบ เมื่อวันที่ 1 – 2 กุมภาพันธ์ 2563
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวแสดงความห่วงใยต่อผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ
และขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งต่อครอบครัวผู้สูญเสีย จากกรณีคนร้ายที่ก่อเหตุใช้อาวุธปืนกราดยิง
ทหาร ตำรวจ และประชาชน กลางเมืองโคราชและหลบหนีเข้าไปภายในห้างเทอร์มินอล 21 จังหวัดนครราชสีมา
เหตุเกิดเมื่อวันที่ 8 – 9 กุมภาพันธ์ 2563 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตรวมคนร้าย 30
ราย และผู้บาดเจ็บ 58 ราย ในเบื้องต้นพบว่ามีผู้ที่ได้ทำประกันชีวิตไว้ 13
รายของจำนวนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บทั้งหมด โดยมีจำนวนสินไหมทดแทนรวมทั้งสิ้น 16,726,839 บาท แบ่งเป็นสินไหมมรณกรรม 14,305,669 บาท และสินไหมทดแทนค่ารักษาพยาบาล
2,421,170 บาท จากบริษัทที่รับประกันชีวิตจำนวน 15 บริษัท ได้แก่
บริษัท เอไอเอ จำกัด, บริษัท เอฟดับบลิวดี ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท เอ็ม
บี เค ไลฟ์ ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน), บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท
โตเกียวมารีนประกันชีวิต(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน), บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน), บริษัท ทิพยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท พรูเด็นเชียล
ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน), บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน),
บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท ชับบ์ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ จำกัด (มหาชน),
บริษัท กรุงไทย - แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ซึ่งขณะนี้บริษัทประกันชีวิตได้เร่งดำเนินการจ่ายสินไหมทดแทนให้กับครอบครัวผู้สูญเสียและบาดเจ็บ
เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างทันท่วงที
และสำหรับญาติผู้เสียชีวิตที่มีความประสงค์ต้องการตรวจสอบว่าผู้เสียชีวิตได้ทำประกันชีวิตไว้หรือไม่
สามารถติดต่อสอบถามที่สมาคมประกันชีวิตไทย เบอร์โทรศัพท์ 02 679 8080 โดยแจ้งรายละเอียดชื่อ-นามสกุล
เลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เสียชีวิต และสมาคมประกันชีวิตไทยจะประสานกับบริษัทประกันชีวิตเพื่ออำนวยความสะดวกต่อไป
สมาคมประกันชีวิตไทยแจงธุรกิจประกันชีวิตปี 2562 เติบโตลดลงที่ร้อยละ 2.63 ด้วยผลงานเบี้ยประกันภัยรับรวม 610,914.11 ล้านบาท และมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ที่ร้อยละ 80 คาดการณ์ปี 2563 ธุรกิจประกันชีวิตจะไม่มีการเติบโต โดยจะมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 610,000 ล้านบาท เหตุปัจจัยท้าทายรอบด้าน
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ในปี 2562 ที่ผ่านมา
ตัวเลขการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตไม่สูงเหมือนในอดีตที่ผ่านมา
สืบเนื่องมาจากปัจจัยท้าทายต่าง ๆ ที่ธุรกิจประกันชีวิตต้องเผชิญ อาทิ ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอันเป็นผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา
มาตรการจากภาครัฐ อาทิ จากหลักเกณฑ์ในเรื่องมาตรฐานรายงานทางการเงิน IFRS17
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล(Privacy Law) การยกระดับพฤติกรรมทางการตลาดของธุรกิจประกันชีวิต (Market
Conduct) ที่กระทบต่อตัวแทนและนายหน้า ซึ่งจะเห็นผลชัดเจนจากตัวเลขของช่องทางการเติบโตของแบงก์แอสชัวรันส์ที่ลดลงกว่าปีที่ผ่านมาถึง
ร้อยละ 10.66 นอกจากนี้ยังมีเรื่องของอัตราความเสียหาย จากคนกลางและการฉ้อฉลประกันภัย
(Fraud & Abuse) โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการรับประกันสุขภาพ การเผชิญกับภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำที่กระทบต่อการลงทุนและผลิตภัณฑ์ประกันชีวิต
จากปัจจัยท้าทายเหล่านี้ส่งผลให้ธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันชีวิตรับรวม
(มกราคม – ธันวาคม 2562) 610,914.11 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโตลดลงร้อยละ
2.63 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา จำแนกเป็นเบี้ยประกันชีวิตรายใหม่ (New Business
Premium) จำนวน 178,487.45 ล้านบาท อัตราเติบโตลดลงร้อยละ 1.07 โดยแยกเป็นเบี้ยประกันชีวิตรับปีแรก 108,737.99 ล้านบาท
อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.65 เบี้ยประกันภัยรับจ่ายครั้งเดียว 69,749.45 ล้านบาท
อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 17.68 เบี้ยประกันชีวิตปีต่อไป (Renewal Year
Premium) 432,426.66 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 3.25 ซึ่งมีอัตราการคงอยู่ของกรมธรรม์ประกันชีวิตร้อยละ
80
สำหรับเบี้ยประกันภัยรับจำแนกตามช่องทางการจำหน่าย ปี 2562 เป็นดังนี้
อันดับ 1 การขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต
จำนวน 315,616.85 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 51.66
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.32 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 2 การขายผ่านธนาคาร จำนวน 250,564.71.ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 41.01
หรือเติบโตลดลงร้อยละ 10.66 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 3 การขายผ่านช่องทางการตลาดแบบตรง
14,908.58 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 2.44
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
4.01 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ 4 การขายผ่านช่องทางอื่น ๆ 29,823.95 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ
4.88
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.99 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
สำหรับปี 2563 คาดว่าธุรกิจประกันชีวิต จะมีเบี้ยประกันภัยรับรวม ประมาณ 610,000 ล้านบาท ไม่มีการเติบโต เหตุเพราะการดำเนินงานยังคงต้องเผชิญกับความกดดันจากปัจจัยท้าทายของปีที่ผ่านมาซึ่งยังคงมีผลสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงปัจจัยจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัว โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย (GDP) ของประเทศไทยในปีนี้ที่ร้อยละ 1.5 เหตุเศรษฐกิจของประเทศได้เผชิญกับปัจจัยลบจากการท่องเที่ยวที่หดตัวลงอันเป็นผลสืบเนื่องจากการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 สภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศจากปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้บริโภคไม่กล้าใช้จ่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ไปกับปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และนำเงินบางส่วนไปใช้ชำระหนี้ภาคครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยกระทบด้านภูมิศาสตร์ ภาวะภัยแล้ง ภาวะการว่างงาน ตลอดจนพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลมากขึ้น ผู้บริโภคมีความต้องการเฉพาะเจาะจง ธุรกิจประกันชีวิตจึงต้องมีการปรับตัว และมีการลงทุนเกี่ยวกับนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อป้องกัน digital disruption และสังคมสูงวัย ซึ่งเป็นได้ทั้งปัจจัยที่ท้าทายและปัจจัยส่งเสริมธุรกิจ
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่อาจทำให้ธุรกิจประกันชีวิตสามารถเติบโตได้มาจากปัจจัยส่งเสริมและกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ เช่น การอนุมัติโครงการสาธารณูปโภค การเบิกจ่ายงบประมาณที่ยังคงค้าง การส่งเสริมการท่องเที่ยว และมาตรการส่งเสริมธุรกิจประกันชีวิตโดยหน่วยงานกำกับ ซึ่งล่าสุดได้มีประกาศคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เรื่อง การลงทุนประกอบธุรกิจอื่นของบริษัทประกันชีวิต / บริษัทประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2563 ออกเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2563 เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจประกันภัยไทยให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะอัตราดอกเบี้ยขาลง โดยการเปิดกว้างให้บริษัทประกันสามารถลงทุนได้มากขึ้นในหลากหลายรูปแบบ
อีกทั้งยังมีปัจจัยส่งเสริมจากภาคธุรกิจ อาทิ บริษัทประกันชีวิตมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้หลากหลายตรงกับตามความต้องการของประชาชน และมุ่งพัฒนาช่องทางการจำหน่ายให้หลากหลาย นอกเหนือจากการจำหน่ายผ่านตัวแทนฯ เช่น การขายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ระบบออนไลน์ แอปพลิเคชันต่าง ๆ การขายผ่านร้านค้าสะดวกซื้อ เป็นต้น พร้อมทั้งพัฒนารูปแบบการให้บริการให้ทันสมัย สะดวกสบาย และสร้างความประทับใจในการใช้บริการ เพื่อรองรับ Life Style ของลูกค้าแต่ละราย การตระหนักรู้ของประชาชนเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมสู่วัยเกษียณ จึงทำให้ประชาชนให้ความสำคัญต่อการบริหารความเสี่ยง การวางแผนคุ้มครองชีวิตและสุขภาพ การหาผลตอบแทนด้วยช่องทางการลงทุนใหม่ๆ ที่ให้ทั้งความคุ้มครองและผลตอบแทนในแง่ของการลงทุน
สำหรับทิศทางธุรกิจประกันชีวิตปี 2563 ธุรกิจประกันชีวิตจะต้องปรับลดการขายผลิตภัณฑ์ที่เคยให้ผลตอบแทนสูงเช่น Single Premium หรือแบบประกันชีวิตที่การันตีผลตอบแทนออกจากตลาด เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง โดยเน้นผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน เช่น ยูนิตลิงก์ (Unit- Linked ) ผลิตภัณฑ์ที่ให้ความคุ้มครองระยะยาว เช่น แบบประกันชีวิตตลอดชีพ แบบประกันบำนาญ สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ
ถึงแม้ปี
2563 จะยังเป็นปีที่ท้าทายสำหรับธุรกิจประกันชีวิต หากแต่ยังมีความเชื่อมั่นว่าธุรกิจประกันชีวิตจะยังคงเติบโตได้ดีเมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น
เพราะธุรกิจประกันชีวิตมีความจำเป็นต่อการบริหารความเสี่ยงของคนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะปัจจุบันที่เศรษฐกิจชะลอตัว
ค่ารักษาพยาบาลที่มีการปรับตัวสูงขึ้นทุกปีตามวิวัฒนาการทางการแพทย์ ตลอดจนการตระหนักรู้ของประชาชนจากภาวะโรคอุบัติใหม่
หรือการแพร่กระจายของโรค เช่น การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ประกันชีวิตและประกันสุขภาพจะให้ความคุ้มครองชีวิตและค่ารักษาพยาบาลตามจำนวนเงินผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย
นอกจากนี้แล้วภาคธุรกิจยังได้มีการตั้งรับและเตรียมตัวอย่างดีต่อปัจจัยท้าทายรอบด้าน
พร้อมทั้งได้รับความร่วมมือทั้งจากทางภาคอุสาหกรรมและหน่วยงานกำกับ โดยมีสมาคมประกันชีวิตไทยเป็นแกนกลางในการประสาน พันธกิจต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยท้าทาย ทั้งในรูปแบบรับฟังความคิดเห็น
การจัดตั้งคณะทำงานกลุ่มย่อยเพื่อทำงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
เช่น ว่าจ้างที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายมาช่วยแนะนำผลกระทบของธุรกิจประกันชีวิตในแง่มุมต่าง
ๆ ต่อพรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล คณะทำงานเรื่องผลกระทบมาตรฐานรายงานทางการเงิน IFRS17 คณะทำงานเรื่องผลกระทบจากภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ซึ่งนำไปสู่การทดสอบ RBC 2 การดำรงเงินกองทุน และคณะทำงานเกี่ยวกับความจำเป็นทางการแพทย์
โดยมีคณะกรรมการบริหารสมาคมเป็นประธานเพื่อกำกับและติดตามงานอย่างใกล้ชิด
เพื่อให้ธุรกิจประกันชีวิตสามารถแข่งขัน และเติบโตได้อย่างยั่งยืนไม่ว่าเศรษฐกิจจะมีทิศทางอย่างไรก็ตาม
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวเพิ่มเติม
สมาคมประกันชีวิตไทย
โดยคณะอนุกรรมการประกันภัยกลุ่ม จัดโครงการสัมมนาวิชาการพัฒนาและส่งเสริมความรู้ด้านประกันภัยกลุ่ม
พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ เรื่อง “การประกันภัยกลุ่มในยุคดิจิทัล”ซึ่งได้รับเกียรติจาก
นายจรุง เชื้อจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสมาคม
บรรยายข้อกำหนดและแนวทางปฏิบัติของกฎหมายใหม่ อีกทั้งได้รับเกียรติจากแพทย์หญิงนภัค ด้วงจุมพล แพทย์ชำนาญการ (ด้านวิจัย)
หัวหน้ากลุ่มงาน อาชีวเวชกรรม
โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ในหัวข้อเรื่อง “สุขภาพดีอย่างยั่งยืน
ในยุคดิจิทัล”เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตกลุ่มสู่ยุคดิจิทัล ณ
ดิโอเชี่ยน เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 21 – 22 กุมภาพันธ์ 2563
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ลดลงมาอยู่ที่
1.06 % ประกอบกับเกิดสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกรวมทั้งสิ้น
79,163 ราย เสียชีวิต 2,471 ราย หายแล้ว 23,624 ราย (ข้อมูลวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563) แต่สถานการณ์การระบาดก็ยังดูเหมือนจะทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน
ซึ่งปัญหาดังกล่าวได้กลายเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจเอเชียไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เมื่อเศรษฐกิจซบเซา ดอกเบี้ยขาลง ตลาดมีความผันผวนเปลี่ยนแปลงรวดเร็วคงไม่ส่งผลดีกับบรรดานักลงทุนหรือผู้ที่ต้องการให้เงินออมงอกเงย
ในการนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยขอแนะนำผู้เอาประกันภัยทุกคนที่ถือครองกรมธรรม์ออมทรัพย์ที่มีความคุ้มครองและมีผลตอบแทนสูงอย่ายกเลิกกรมธรรม์
เนื่องจากประกันชีวิตรูปแบบสะสมทรัพย์ในอดีตจะให้ผลประโยชน์และเงินคืนตามที่บริษัทประกันสัญญาไว้ในอัตราสูงกว่าดอกเบี้ยปัจจุบัน
เรียกว่ากรมธรรม์ในอดีตจะกลายเป็นสมบัติล้ำค่าในอนาคต รวมถึงการมีประกันสุขภาพไว้รับมือกับโรคต่าง
ๆ หรือโรคอุบัติใหม่ เช่น ไวรัสโควิด-19
ทั้งนี้ ขอให้ผู้เอาประกันทุกท่านหมั่นตรวจสอบกรมธรรม์ของตนเองว่าถึงกำหนดชำระเบี้ยประกันภัยในงวดต่อไปแล้วหรือยัง
เพื่อให้กรมธรรม์ประกันชีวิตนั้นมีผลบังคับอย่างต่อเนื่อง เพราะการปล่อยให้กรมธรรม์ขาดผลบังคับจะทำให้ผู้เอาประกันชีวิตเสียผลประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อครบกำหนดสัญญาแล้วยังทำให้เสียโอกาสในเรื่องความคุ้มครองตามที่ได้ตั้งใจไว้
สำหรับผู้ที่มีกรมธรรม์ประกันชีวิตและยังมีผลบังคับอยู่
ณ ปัจจุบันขอให้มั่นใจว่าจะได้รับความคุ้มครองต่อการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในทุกกรณี
ตามจำนวนผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัยภายใต้เงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันชีวิตและ/หรือสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ
ในโอกาสนี้จึงขอย้ำเตือนผู้เอาประกันภัยทุกท่านว่า เมื่อจำเป็นต้องใช้เงิน ก่อนตัดสินใจยกเลิกกรมธรรม์ควรไตร่ตรองและตระหนักให้ดีก่อนว่าตนเองจะเสียสิทธิอะไรไปบ้าง
และเพื่อไม่ให้เสียผลประโยชน์และความคุ้มครองตามสัญญา ท่านสามารถเลือกใช้วิธีกู้เงินจากกรมธรรม์ได้
ตามที่บุคลากรทางการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข ได้เข้ามามีบทบาทในการตรวจเฝ้าระวังเชื้อไวรัส
โคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ให้แก่ประชาชนในประเทศไทยนั้น
สำนักงาน คปภ. และภาคธุรกิจประกันชีวิตมีความห่วงใยบุคลากรซึ่งมีความสำคัญในการรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด-19
เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำหน้าที่ในการช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบอย่างใกล้ชิด
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
เปิดเผยว่า สมาคมประกันชีวิตไทยโดยความร่วมมือของบริษัทสมาชิกได้จัดสรรเงินจำนวน
1.5 ล้านบาท ผ่านสำนักงาน คปภ. เพื่อจัดซื้อกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา
(COVID-19) ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์
โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานรับมอบ เมื่อวันที่ 6
มีนาคม 2563 ณ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ชั้น 3 ทั้งนี้ ความคุ้มครองที่บุคลากรทางการแพทย์จะได้รับคือหากตรวจพบเชื้อไวรัสโควิด-19
จะได้รับความคุ้มครองทันทีเป็นจำนวนเงิน 50,000 บาทต่อคน โดยมีระยะเวลาความคุ้มครองตั้งแต่วันที่แจ้งรายชื่อ
ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2563 ในโอกาสนี้ สามาคมประกันชีวิตไทยขอขอบคุณกระทรวงสาธารณสุขและบุคลากรทางการแพทย์ที่ทุ่มเทปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มศักยภาพพร้อมเสียสละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวมดูแลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบอย่างใกล้ชิดและขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ทุกท่านที่ปฏิบัติงานอย่างเข้มแข็ง นายกสมาคมฯกล่าวเพิ่มเติม
นายพิชา สิริโยธิน
ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
เป็นประธานกล่าวเปิดการบรรยายให้ความรู้ เรื่อง
“แผนรองรับการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องในภาวะฉุกเฉิน : COVID-19” จัดโดยฝ่ายบริหารสำนักงานและบุคคล สายงานส่งเสริมช่องทางจำหน่าย สมาคมประกันชีวิตไทย
ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายณรงค์ โพธิ์แมนกุล
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ บริษัท เอไอเอ
จำกัด และ Mr.Chong Jan Hou Senior
Vice President พร้อมคณะจากบริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ร่วมเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับแผนบริหารความต่อเนื่อง (Business Continuity Plan : BCP) ทั้งแผนงานและวิธีการที่จะช่วยให้องค์กรหรือหน่วยงานสามารถขับเคลื่อนปฏิบัติงานในสภาวะวิกฤติหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง
ๆ ไม่ว่าจะเกิดจากภัยธรรมชาติ อุทกภัย อัคคีภัย การก่อการประท้วง การก่อการจลาจล
การก่อวินาศกรรม รวมถึงในปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่
2019 (COVID-19) ให้กับบุคลากรจากบริษัทสมาชิก, ผู้แทนจากสำนักงาน
คปภ., สมาคมประกันวินาศภัยไทยและเจ้าหน้าที่สมาคมประกันชีวิตไทย เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้เตรียมความพร้อมล่วงหน้าในการรับมือกับสภาวะวิกฤติหรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน เพื่อที่จะช่วยลดผลกระทบจากการหยุดชะงักในการดำเนินงานหรือการให้บริการที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงเกิดโรคระบาด
COVID-19 ณ ห้องประชุม 701 ชั้น 7 สมาคมประกันชีวิตไทย
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563
นางนุสรา (อัสสกุล)
บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ตามที่ คณะรัฐมนตรีมีมติประกาศใช้พระราชกำหนด
(พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อยกระดับการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัส
COVID-19 นั้น สมาคมประกันชีวิตไทยขอยืนยันว่าบริษัทประกันชีวิตได้มีการเตรียมพร้อมรองรับภาวะฉุกเฉิน
เพื่อความต่อเนื่องในการให้บริการแก่ผู้เอาประกันภัย ทั้งนี้ ผู้เอาประกันภัยสามารถใช้บริการต่าง
ๆ เช่น การเรียกร้องสินไหมทดแทน การเรียกร้องเคลมค่ารักษาพยาบาล การชำระเบี้ยประกันภัย
และบริการอื่น ๆ ที่จะช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยให้ได้รับความสะดวกมากที่สุดภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว
ซึ่งการใช้บริการขั้นต้นสามารถดำเนินการผ่านช่องทางในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งในส่วนของบริษัท
สาขา ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ Call Center ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
เว็บไซต์ แชตบอท เฟสบุ๊ค ไลน์ออฟฟิศเชียล รวมถึงแอพลิเคชั่นต่าง ๆ
ที่พร้อมให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามภาคธุรกิจประกันชีวิตมีความห่วงใยต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคนสำหรับผู้มีประกันชีวิตและประกันสุขภาพอยู่แล้ว
ขอให้มั่นใจได้ว่าจะยังคงได้รับความคุ้มครองทุกกรณี ตามจำนวนผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัยภายใต้เงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันชีวิตและ/หรือสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ
ซึ่งรวมถึงไวรัสโควิด-19 ด้วย
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยได้รับประโยชน์จากการทำประกันชีวิตและประกันสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
และให้ได้ประโยชน์สูงสุดในสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 นั้น ขอให้ผู้เอาประกันภัยทุกท่านตรวจสอบสถานะกรมธรรม์ของท่านให้ยังมีผลบังคับใช้อยู่เสมอ
และระมัดระวังคัดกรองข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ โดยเฉพาะจากช่องทางโซเชียลมีเดีย
และระมัดระวังในการส่งต่อข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความตื่นตระหนก และสร้างความเข้าใจผิดที่อาจเกิดขึ้นได้
การแอบอ้างเพื่อหลอกลวงข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน การชำระเบี้ยประกันภัยควรได้รับใบเสร็จรับเงินทุกครั้ง
ซึ่งในสถานการณ์เช่นนี้ควรดำเนินการเองโดยผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น
โมบายแบงก์กิ้ง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถสอบถามข้อมูลข่าวสารและรายละเอียดต่าง
ๆ ได้จากบริษัทที่ท่านได้ทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือที่สมาคมประกันชีวิตไทย
โทร.0 2679 8080 e-mail : tlaa@tlaa.org
Facebook : สมาคมประกันชีวิตไทย
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้วันที่ 5 มีนาคม – 31
มีนาคม 2563 มีผู้เอาประกันชีวิตที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเรียกร้องสินไหมจำนวน 27 ราย
โดยมีจำนวนสินไหมทดแทนรวมทั้งสิ้น 2,244,091 บาท ทั้งนี้
แยกเป็นสินไหมทดแทนค่ารักษาพยาบาล 1,867,641 บาท และสินไหมอื่นๆ เช่น
สัญญาเพิ่มเติมค่าชดเชยรายวันการเข้ารักษาในโรงพยาบาล (HB) จำนวน
376,450 บาท จากบริษัทประกันชีวิตจำนวน 8 บริษัท ได้แก่ บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน), บริษัท กรุงไทย - แอกซ่า ประกันชีวิต จำกัด
(มหาชน), บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด
(มหาชน), บริษัท ไทยซัมซุงประกันชีวิต จำกัด (มหาชน),
บริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน),
บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน), บริษัท เอไอเอ จำกัด, บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต
จำกัด (มหาชน) ซึ่งขณะนี้บริษัทประกันชีวิตได้ดำเนินการจ่ายสินไหมให้กับผู้เอาประกันชีวิตเรียบร้อยแล้ว
เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดดังกล่าว
ในขณะนี้ นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากของพี่น้องคนไทย เพราะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ยังคงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ
การดำรงชีวิตประจำวัน และระบบสาธารณสุข ในนามนายกสมาคมประกันชีวิตไทย ตัวแทนภาคธุรกิจประกันชีวิต ขอเป็นกำลังใจและขอแสดงความห่วงใยไปยังพี่น้องประชาชนทุกท่าน ขอให้ดูแลสุขอนามัยของตนเองอย่างเคร่งครัด หลีกเลี่ยงแหล่งชุมชน
งดออกจากที่พักอาศัยโดยไม่จำเป็น กินอาหารปรุงสุก แยกชุดช้อนส้อมและภาชนะส่วนตัว
สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน รวมถึงล้างมือบ่อยๆ
ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้สามารถต่อสู้กับโรคต่างๆ
ได้อยู่เสมอ และที่สำคัญอย่าลืมวางแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายและภาระต่างๆ
ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตกับตัวเองและคนที่รัก พร้อมทั้งเชื่อมั่นว่าเราคนไทยจะช่วยกันฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปได้ด้วยดี
ทั้งนี้ สำหรับผู้เอาประกันชีวิตที่มีความประสงค์ต้องการตรวจสอบว่าประกันชีวิตและประกันสุขภาพที่ตนเองทำไว้นั้นมีเงื่อนไขความคุ้มครองอย่างไรและมีวงเงินความคุ้มครองเรื่องค่ารักษาพยาบาลอยู่ที่เท่าไร
สามารถติดต่อสอบถามได้ศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ของบริษัทประกันชีวิตที่ทำประกันไว้
หรือติดต่อสอบถามที่สมาคมประกันชีวิตไทย เบอร์โทรศัพท์ 02 679 8080 โดยแจ้งรายละเอียดชื่อ-นามสกุล
เลขบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เอาประกันชีวิต เพื่ออำนวยความสะดวกต่อไป
เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.)
อนุมัติมาตรการดูแลและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย
ซึ่งหนึ่งในมาตรการดังกล่าวเป็นการบรรเทาและแบ่งเบาภาระของประชาชน
คือการอนุมัติสิทธิลดหย่อนภาษีจากค่าเบี้ยประกันสุขภาพจากเดิม 15,000 บาทเพิ่มเป็น 25,000 บาท โดยมีผลตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2563
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
เปิดเผยว่า จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 และมีแนวโน้มว่าจะยังไม่ยุติง่ายๆ
ส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อเศรษฐกิจ และระบบสาธารณสุข
ยังความตื่นตัวให้กับประชาชนต่อการดูแลตนเอง โดยหลีกเลี่ยงชุมชน งดออกจากที่พักอาศัยโดยไม่จำเป็น
กินร้อน แยกชุดช้อนส้อมและภาชนะส่วนตัว สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน รวมถึงล้างมือบ่อยๆ
ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ และที่สำคัญ ณ
ขณะนี้ คือการบริหารค่าใช้จ่ายและภาระต่างๆ ทางการเงิน
เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบระยะยาวต่อตนเองและครอบครัว
สำหรับการประกันชีวิตและการประกันสุขภาพในสถานการณ์ปัจจุบันถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน
ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.)
อนุมัติมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจให้กับประชาชน โดยหนึ่งในมาตรการนั้นคือการส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยมีประกันชีวิตและประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากสวัสดิการขั้นพื้นฐาน
เช่น ประกันสังคมและสิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท
ด้วยการเพิ่มวงเงินหักลดหย่อนภาษี
จากค่าเบี้ยประกันสุขภาพจากเดิมตามจ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท เป็นไม่เกิน 25,000 บาท
และเมื่อรวมกับการหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิต
และเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
ซึ่งมาตรการดังกล่าวนับว่าเป็นผลดีกับประชาชนเพราะเป็นการส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ประชาชนวางแผนดูแลสุขภาพกันมากขึ้น
รวมถึงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐต่อสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล
สำหรับผู้ที่ซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่มี 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2563 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในปี 2564
ทั้งนี้
ประกันสุขภาพเป็นสิ่งที่ควรทำตั้งแต่ตอนที่ร่างกายยังแข็งแรงสมบูรณ์
เพราะประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองกรณีที่ป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่งมาก่อนหรือเป็นโรคที่ยังรักษาไม่หายขาด
แต่สำหรับกรณีของคนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วอยากจะทำประกันสุขภาพ
อาจทำได้แต่บริษัทประกันอาจแจ้งข้อเสนอใหม่ให้กับผู้ขอทำประกัน เช่น
บริษัทอนุมัติแต่เบี้ยประกันสูงกว่าคนที่ไม่มีโรคประจำตัว
หรือบริษัทอนุมัติแต่ขอยกเว้นเฉพาะโรคที่ผู้ขอทำประกันเป็นอยู่
ดังนั้นผู้เอาประกันจะต้องเปิดเผยข้อมูลสุขภาพตามจริงให้กับบริษัทประกัน
หากตั้งใจปกปิดหรือบริษัทประกันสืบทราบเองในภายหลังอนุมัติความคุ้มครองไปแล้ว
บริษัทประกันมีสิทธิ์ไม่จ่ายเงินค่าชดเชยค่ารักษาพยาบาลได้
ไปจนถึงการยกเลิกสัญญาประกันสุขภาพฉบับนั้นด้วย ดังนั้น
ทุกครั้งก่อนทำประกันสุขภาพโปรดอ่านรายละเอียดและทำความเข้าใจเงื่อนไขความคุ้มครอง
รวมถึงข้อยกเว้นต่าง ๆ ของแต่ละสัญญาให้ครบถ้วน พร้อมทั้งแถลงข้อมูลตามความจริง
เพื่อให้การใช้สิทธิ์ทุกสิทธิ์ของท่านเป็นไปตามความต้องการด้วยความสะดวกและรวดเร็ว
สำหรับท่านที่ตัดสินใจทำประกันสุขภาพไปแล้ว
อย่าลืมแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินจากเบี้ยประกันสุขภาพต่อบริษัทประกันชีวิตที่ได้ซื้อประกันสุขภาพไว้ตามแบบฟอร์มที่บริษัทกำหนด
นายกสมาคมฯ กล่าวเพิ่มเติม
นางนุสรา
(อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
เปิดเผยว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ทุกคนต้องให้ความร่วมมือหยุดเชื้อเพื่อชาติ
ด้วยการอยู่บ้าน อยู่ห่าง เป็นการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social
distancing) เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
แน่นอนว่าได้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ซึ่งรวมถึงธุรกิจประกันชีวิตด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตามธุรกิจประกันชีวิตได้มีการปรับตัวโดยใช้ระบบดิจิทัลเข้ามาช่วยเติมเต็มการให้บริการที่สะดวกและรวดเร็ว
สามารถติดต่อได้ทุกช่วงเวลา ผ่าน online ทั้งในรูปแบบของเว็บไซต์,
ไลน์, เฟสบุ๊ค, แอพพลิเคชั่นของบริษัท รวมถึงช่องทางการชำระเบี้ยประกันภัยที่มั่นใจได้ว่าปลอดภัยผ่าน
QR code, barcode เพื่อส่งเข้าบัญชีบริษัทโดยตรง
นอกจากนี้แล้วสมาคมประกันชีวิตไทยยังได้มีการประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.)อย่างสม่ำเสมอ เพื่อหารือแนวทางปรับปรุงให้ธุรกิจยังคงเดินหน้าต่อไปได้ในสถานการณ์ที่โรคโควิด-19
ระบาด ซึ่งจากการประชุมหารือ สำนักงาน คปภ. ได้เปิดช่องให้นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับใช้ในกระบวนการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัยแบบพบหน้า
(Face to Face) เพื่อแก้ปัญหาในทางปฏิบัติในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19
ซึ่งจะใช้เป็นการเฉพาะกิจในช่วงสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดนี้ โดยออกประกาศ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการออกการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต/วินาศภัย
และการปฏิบัติหน้าที่ของตัวแทนประกันชีวิต นายหน้าประกันชีวิต/วินาศภัย และธนาคาร
ในระหว่างสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พ.ศ. 2563 (ประกาศการขายประกันเฉพาะกิจ Digital
Face to Face) ผู้เสนอขายสามารถเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
โดย เสียง และ/หรือภาพ กับลูกค้าได้ ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการเสนอขายกรมธรรม์ประกันชีวิตควบการลงทุน
(Unit – Linked) และกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบยูนิเวอร์แซลไลฟ์
ดังนั้น
เมื่อตัวแทนหรือนายหน้าเสนอการขายก็จะขออนุญาตผู้เอาประกันภัยเพื่อทำการบันทึกภาพการสนทนาและข้อความเสียงเพื่อนำส่งบริษัท
กรณีลูกค้าสนใจทำประกันภัยให้ผู้เสนอขายสอบถามข้อมูลต่าง ๆ
เพื่อกรอกข้อมูลของลูกค้าในคำขอเอาประกันภัย และเอกสารประกอบการเสนอขาย และส่งให้ลูกค้าตรวจสอบความถูกต้องผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์
เช่น แอพพลิเคชั่นที่ตกลงกับลูกค้า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
และบริษัทจะทำการส่งข้อความสั้น (SMS) หรือโทรศัพท์ไปยืนยันกับลูกค้าอีกครั้ง
และเมื่อลูกค้าตกลงทำประกันภัย ให้ลูกค้าส่งข้อความยืนยัน พร้อมส่งภาพบัตรประชาชน
คำขอเอาประกันภัย และหลักฐานการชำระเบี้ยประกันภัยเข้าบัญชีบริษัท
โดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นเดียวกัน และเมื่อบริษัทได้รับชำระเบี้ยประกันภัยแล้วจะออกเอกสารการรับเงินโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ลูกค้าทันที
จากนั้นจะเช้าสู่กระบวนการออกหรือส่งมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย และภายใน
7 วัน บริษัทจะต้องโทรศัพท์ไปขอคำยืนยันการทำประกันภัย (Confirmation
call) หากผู้เอาประกันภัยประสงค์จะยกเลิกการทำประกันภัย
ให้บริษัทคืนเบี้ยเต็มจำนวนให้ผู้เอาประกันภัยภายใน 30 วัน
นับแต่ได้รับแจ้งการยกเลิก
ดังนั้น ในช่วงที่โควิด-19 กำลังระบาด หลายๆ คนมีความกังวลและมองหาหลักประกันเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
สามารถติดต่อสอบถามได้ที่บริษัทประกันชีวิตทุกแห่ง และขอให้มั่นใจได้ว่าสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพที่ท่านซื้อกับบริษัทประกันชีวิตจะให้ความคุ้มครองการเจ็บป่วยด้วยโรคภัยอื่น
ๆ รวมทั้งโรคที่เกิดจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตามจำนวนผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัยภายใต้เงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันชีวิตและ/หรือสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพ
ทั้งนี้ ประกันสุขภาพเป็นสิ่งที่ควรทำตั้งแต่ตอนที่ร่างกายยังแข็งแรงสมบูรณ์
เพราะประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองกรณีที่ป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่งมาก่อนหรือเป็นโรคที่ยังรักษาไม่หายขาด
แต่สำหรับกรณีของคนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วอยากจะทำประกันสุขภาพ
อาจทำได้แต่บริษัทประกันอาจแจ้งข้อเสนอใหม่ให้กับผู้ขอทำประกันตามเงื่อนไขและนโยบายรับประกันภัยของแต่ละบริษัท
สมาคมประกันชีวิตไทยเดินหน้าจัดอบรมหลักสูตรขอรับตัวแทน/นายหน้าประกันชีวิต
และขอต่ออายุใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต ครั้งที่ 1-4 (เป็นต้นไป) ผ่านระบบออนไลน์
เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม 2563
นายพิชา
สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย
เปิดเผยว่า จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ส่งผลให้รัฐบาลได้ออกมาตรการป้องกันโรคต่าง ๆ
เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว โดยเฉพาะมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม
ในส่วนของสมาคมประกันชีวิตไทยก็ตอบสนองนโยบายดังกล่าวของรัฐบาล โดยหยุดทุกกิจกรรมที่เป็นการนำคนหมู่มากมารวมตัวกัน
ทำให้ไม่สามารถให้บริการการอบรมความรู้หลักสูตรขอรับใบอนุญาตและขอต่อใบอนุญาตแก่ตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต
ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ได้
ล่าสุดสำนักงาน
คปภ. ได้มีประกาศผ่อนปรนวิธีการอบรมหลักสูตรความรู้ต่าง ๆ โดยยินยอมให้นำรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาใช้ในการอบรม
(E-Learning) ได้ ซึ่งเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาให้แก่ตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิต
ไม่ว่าจะเป็นกรณีสอบความรู้ผ่านเกณฑ์แล้วแต่ยังไม่ได้อบรม
หรือกรณีที่จะต้องทำการอบรมประจำปีเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
ถึงแม้ว่าสำนักงาน คปภ. จะมีประกาศผ่อนผันแล้วก็ตาม
ในการนี้
สมาคมประกันชีวิตไทยมีความพร้อมที่จะสนองนโยบายของสำนักงาน คปภ. ในการอบรมผ่านระบบ E-Learning และได้รับอนุญาตให้ดำเนินการอบรมแล้ว
โดยจะรับผู้เข้าอบรมไม่เกินครั้งละ 30 คน และเริ่มอบรมหลักสูตรแรกภายในเดือนพฤษภาคมนี้แก่ตัวแทนประกันชีวิตและนายหน้าประกันชีวิตที่สอบผ่านเกณฑ์ความรู้แล้วก่อนวันที่
1 เมษายน 2563 และหลังจากนั้นก็จะทยอยอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ด้วยวิธี E-Learning
ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ทั้งปี สำหรับผู้สนใจสามารถสมัครได้ผ่านเว็บไซต์ www.tlaa.org ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายฝึกอบรมและพัฒนาตัวแทนประกันชีวิต e-mail
: training@tlaa.org โทรศัพท์ 02 679 8080 ต่อ 221-222 , 240 และ
225
สมาคมประกันชีวิตไทยเปิดสอบใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต
หลังการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเปิดลงทะเบียนจองคิวสมัครสอบล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์
และจำกัดจำนวนผู้เข้าสอบ เริ่มเปิดสอบตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563
นายพิชา สิริโยธิน ผู้อำนวยการบริหารสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า หลังจากสมาคมประกันชีวิต-ไทยตอบสนองนโยบายของรัฐบาลที่ออกมาตรการให้เว้นระยะห่างทางสังคม โดยหยุดทุกกิจกรรมที่เป็นการนำคนหมู่มากมารวมตัวกัน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการเปิดสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตได้ แต่ในปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ประกอบกับมาตรการผ่อนคลายของภาครัฐที่ออกมา สมาคมประกันชีวิตไทยซึ่งได้รับความเห็นชอบจากกรุงเทพมหานครที่เข้ามาตรวจสอบความพร้อมของสถานที่ จึงได้เริ่มดำเนินการเปิดสอบใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิต โดยผู้ที่มีความประสงค์จะสอบใบอนุญาตเป็นตัวแทนประกันชีวิตต้องทำการลงทะเบียนจองคิวสมัครสอบล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์ www.tlaa.org ซึ่งจะเริ่มเปิดให้ลงทะเบียนได้ ตั้งแต่วันที่ 29 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป โดยจำกัดจำนวนผู้สมัครสอบ และขอสงวนสิทธิ์ในการเข้าสอบให้กับผู้ที่ทำการลงทะเบียนล่วงหน้าเท่านั้น ทั้งนี้ สมาคมจะไม่รับสมัครสอบแบบ Walk in ในทุกกรณี เพื่อเป็นการปฏิบัติตามมาตรการของภาครัฐ
โดยมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สำหรับผู้ที่มาเข้าสอบ ดังนี้
1. ให้ผู้มาเข้าสอบติดต่อตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย
ณ จุดคัดกรองชั้น G พร้อมลงทะเบียนก่อนเข้าอาคารสมาคม
2. ไม่อนุญาตให้ผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงกว่า
37.4 องศาเซลเซียส เข้าภายในอาคารทุกกรณี และแนะนำให้ไปพบแพทย์
4. ไม่อนุญาตให้ผู้ติดตามหรือผู้ที่ประสงค์สอบ
ที่ไม่ได้จองคิวล่วงหน้าเข้าอาคารสมาคมทุกกรณี
5. ให้ผู้มาเข้าสอบจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
หากไม่มีหน้ากากอนามัย หรือไม่สวมหน้ากากอนามัยจะไม่อนุญาตให้เข้าภายในอาคารสมาคม
6. ให้ผู้มาเข้าสอบทำความสะอาดมือด้วยเจลแอลกอฮอล์
หรือล้างมือด้วยสบู่ตามที่ได้จัดเตรียมไว้ให้
7. ให้ผู้มาเข้าสอบสามารถอยู่ภายในอาคารสมาคม ได้ไม่เกินคนละ 2 ชั่วโมง ตามมาตรการป้องกันของทางราชการ
สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายส่งเสริมตัวแทนประกันชีวิต e-mail : agent@tlaa.org
โทรศัพท์ 02-6798080 ต่อ 223 -226
ภาพรวมธุรกิจประกันชีวิตหลังโควิด-19 ระบาด
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยถึงมุมมองและทิศทางของธุรกิจประกันชีวิตหลังโควิด-19
ระบาดว่า ธุรกิจประกันชีวิตประสบกับความท้าทายครั้งใหญ่มาโดยตลอด ซึ่งปัจจัยหลักคงหนีไม่พ้นเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง
ดอกเบี้ยลดต่ำลงเป็นประวัติการณ์ ผลตอบแทนจากการลงทุนลดลง ตามติดมาด้วยวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ซ้ำเติมให้เศรษฐกิจโลกทรุดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ 4 เดือนแรกของปี 63 (มกราคม-
เมษายน 2563) ธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันภัยรับรวมจำนวน
189,380.48 ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ -1.24
เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา
โดยแยกเป็นเบี้ยประกันชีวิตรับรายใหม่ (New Business Premium) จำนวน 50,942.06
ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.69
ประกอบด้วย เบี้ยประกันชีวิตรับปีแรก (First Year Premium) จำนวน 33,217.30 ล้านบาท
อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.24 เบี้ยประกันชีวิตรับจ่ายครั้งเดียว (Single
Premium) จำนวน 17,724.76 ล้านบาท
มีอัตราการเติบโตลดลงร้อยละ -7.30 และเบี้ยประกันชีวิตรับปีต่ออายุ (Renewal
Premium) จำนวน 138,438.42 ล้านบาท
มีอัตราการเติบโตลดลงร้อยละ -2.27 และมีอัตราความคงอยู่ 80 ดังนั้น ภาคธุรกิจจึงได้ปรับคาดการณ์การเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตในปี
2563 จะลดลง - 2% ถึง -5% ด้วยเบี้ยประกันภัยรับรวม
598,695.82 – 580,368.40 ล้านบาท
ซึ่งสอดรับกับจีดีพีของประเทศที่ปรับลดลงเหลือ -5.3% เช่นกัน
ทั้งนี้ จากผลกระทบของเศรษฐกิจโลกและพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
ธุรกิจประกันชีวิตได้ทยอยปรับตัวเป็น Digital Insurer มากขึ้น มีการลงทุนในเทคโนโลยีด้วยเม็ดเงินจำนวนมาก
เพื่อนำดิจิทัลเข้ามาสนับสนุนการทำงานในทุกช่องทาง โดยมีวิกฤตโควิด-19
เป็นตัวเร่งพฤติกรรมวิถีใหม่ หรือ New Normal หลายคนต้องยอมรับดิจิทัลและการออนไลน์โดยปริยาย
พนักงานประจำบางส่วนสามารถทำงานที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มรูปแบบเสมือนทำงานที่บริษัท
มีการติดตามงาน ประชุมผ่านเครื่องมืออุปกรณ์ เครือข่ายดิจิทัลรวมถึงยังคงให้บริการลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องผ่านลูกค้าสัมพันธ์
Call Center ผ่านช่องทางดิจิทัลในรูปแบบแพลตฟอร์มต่าง
ๆ ลูกค้าสามารถชำระเบี้ยประกันภัยผ่านแอพพลิเคชั่น
ติดต่อบริษัทได้โดยตรงอย่างสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งการปรับตัวครั้งนี้ไม่เว้นแม้กระทั่งช่องทางการขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต
โดยได้รับความช่วยเหลือจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ในการออกประกาศการขายประกันเฉพาะกิจ Digital Face to Face ผู้เสนอขายสามารถเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดย
เสียง และ/หรือภาพ กับลูกค้าได้ ดังนั้นตัวแทนในวันนี้
จึงสามารถขายผ่านการใช้โทรศัพท์ แอพพลิเคชั่นไลน์ หรือการประชุมผ่านจอภาพกับลูกค้าแล้วขออนุญาตลูกค้าในการบันทึกภาพและเสียงเพื่อส่งให้บริษัท
จากนั้นบริษัทจะทำการโทรศัพท์ขอคำยืนยันการทำประกันชีวิตกับลูกค้าร่วมด้วย
ส่วนการปรับตัวด้านผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตนั้น
ธุรกิจได้ทยอยปรับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตประเภทออมทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง
มีการการันตีผลตอบแทนออกจากตลาด เหตุปัจจัยเสี่ยงจากภาวะดอกเบี้ยต่ำ ทำให้ภาคธุรกิจหาผลตอบแทนให้ลูกค้าได้ยากขึ้น
แนวโน้มผลิตภัณฑ์นับจากนี้จึงเป็นผลิตภัณฑ์ควบการลงทุน Universal Life ,
Unit Linked , หรือ Participating Policy โดยเน้นการลงทุนตามความเสี่ยงที่ผู้เอาประกันภัยยอมรับได้
รวมถึงผลักดันผลิตภัณฑ์ที่ให้ความคุ้มครองประเภทประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุซึ่งเบี้ยประกันภัยไม่แพง
และจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสวิกฤติโควิด-19
ส่งผลให้ประชาชนตระหนักและให้ความสำคัญกับการประกันสุขภาพมากขึ้น นับเป็นข้อดีของการวางแผนสุขภาพก่อนการเจ็บป่วย
ธุรกิจจึงได้มีการปรับผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพให้หลากหลายตรงกับความต้องการของลูกค้าเพิ่มมากขึ้น
อย่างไรก็ตามอัตราการเสียชีวิตจากการโรคไวรัสโควิด-19
นั้นน้อยมากเมื่อเทียบกับสถิติที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตมากที่สุด เช่น โรคมะเร็งที่เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ
215 คน หรือ 78,540 คนต่อปี โรคหัวใจที่เสียชีวิตเฉลี่ยวันละ 57 คน และเสียชีวิต 20,746 คนต่อปี หรือโรคร้ายอื่น ๆ สำหรับประชาชนที่มีประกันสุขภาพอยู่แล้วขอให้ตรวจสอบว่ากรมธรรม์นั้นยังไม่ขาดผลบังคับเพื่อความมั่นใจว่ากรมธรรม์เดิมของท่านจะยังคงได้รับความคุ้มครองทั้งโควิด-19
และโรคอื่น ๆ ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ นายกสมาคมฯ กล่าวในตอนท้าย
สมาคมประกันชีวิตไทยเดินหน้าส่งเสริมบุคลากรรุ่นใหม่สู่ธุรกิจประกันชีวิต
ด้วยการมอบทุนการศึกษาและรางวัลการศึกษา ประจำปี 2562
ให้กับนักศึกษาสาขาการประกันภัย รวม 64 รางวัล จาก 13 สถาบัน ด้วยงบประมาณกว่า 500,000 บาท
นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า
หนึ่งในพันธกิจของสมาคมประกันชีวิตไทยคือการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรในธุรกิจ
ดังนั้น สมาคมประกันชีวิตไทยจึงได้ประสานความร่วมมือไปยังสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนสาขาประกันภัย
รวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนเพิ่มพูนความรู้และศักยภาพผ่านโครงการต่าง ๆ เช่น
โครงการฝึกงาน โครงการศึกษาดูงาน เป็นต้น พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณเป็นทุนการศึกษาและรางวัลการศึกษาให้กับนิสิต
นักศึกษาที่มีผลการเรียนดี สอบได้คะแนนสูงสุดในสาขาดังกล่าว โดยได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องถึง
45 ปี
ซึ่งในปีนี้ สมาคมประกันชีวิตไทยให้การสนับสนุนมอบทุนการศึกษา
และรางวัลการศึกษาประจำปีการศึกษา 2562 ด้วยงบประมาณกว่า 500,000 บาท รวม 64 รางวัล จาก 13
สถาบันการศึกษาที่เปิดสอนสาขาการประกันภัย อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันบัณฑิตพัฒน
บริหารศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ,
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (วิทยาเขตตรัง), มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (คณะบริหารธุรกิจ), สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยศิลปากร และ
มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยแบ่งเป็น ทุนการศึกษา ทุนละ 10,000 บาท จำนวน 24 ทุน
รางวัลการศึกษา รางวัลละ 5,000 บาท จำนวน 10 รางวัล รางวัล ASA
- Course I (Exam P–Probability) รางวัลละ 7,000
บาท จำนวน 16 รางวัล และรางวัล ASA - Course II (Exam FM–Financial
Mathematics) รางวัลละ 7,000 บาท จำนวน 14
รางวัล ซึ่งพิธีมอบทุนการศึกษาและรางวัลการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2562
จะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม 2563 ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา
ดร.สุทธิพล
ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ให้เกียรติเป็นประธาน “มอบรางวัลตัวแทนคุณภาพดีเด่นแห่งชาติ ครั้งที่ 37 ประจำปี 2563”
(37th Thailand National Quality
Awards หรือTNQA 37th ) จัดโดย สมาคมประกันชีวิตไทย
เพื่อขอบคุณและเชิดชูเกียรติให้กับตัวแทนประกันชีวิตที่ผลิตผลงานได้ตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง และมีการบริการที่เป็นเลิศ
สามารถรักษาอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ไว้ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90
มีความภักดีต่อบริษัทต้นสังกัด ซึ่งในปีนี้มีตัวแทนที่ผ่านเกณฑ์การรับรางวัลทั้งสิ้น
2,190 ราย โดยมี นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย นายสาระ ล่ำซำ อุปนายกฝ่ายการตลาด
สมาคมประกันชีวิตไทยและประธานจัดงาน ร่วมแสดงความยินดี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม 2563 ณ ห้อง เวิลด์ บอลรูม โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์
และ บางกอกคอนเวนชัน เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์
นายสาระ ล่ำซำ
นายกสมาคมประกันชีวิตไทย รับมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีจาก นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ อดีตนายกฯ เนื่องในโอกาสที่ นายสาระ ได้รับความไว้วางใจเป็นสมัยที่
5 จากคณะกรรมการสมาคมเป็นเอกฉันท์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมประกันชีวิตไทย ประจำปีบริหาร 1 กรกฎาคม 2563 – 30 มิถุนายน 2565 ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2563 เมื่อวันที่
31 กรกฎาคม 2563 ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา โดยคณะกรรมการชุดใหม่พร้อมผลักดันและสานต่อให้ธุรกิจเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องมั่นคงต่อไป
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
เปิดเผยว่า 6 เดือนแรกปี 2563
(มกราคม – มิถุนายน) ธุรกิจประกันชีวิตมีผลงานเบี้ยประกันภัยรับรวมทั้งสิ้น
285,942.47ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 3.27 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
จำแนกเป็นเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ จำนวน 76,196.28 ล้านบาท อัตราเติบโตลดลงร้อยละ
9.29 และเบี้ยประกันภัยรับปีต่อไปจำนวน 209,746.19 ล้านบาท อัตราเติบโตลดลงร้อยละ
0.88 และมีอัตราความคงอยู่ของกรมธรรม์ประกันชีวิตร้อยละ 81
สำหรับเบี้ยประกันภัยรับรายใหม่ ประกอบด้วย
(1) เบี้ยประกันภัยรับปีแรก จำนวน 49,559.58 ล้านบาท อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ
1.77
(2) เบี้ยประกันภัยรับชำระครั้งเดียว จำนวน 26,636.70
ล้านบาท อัตราการเติบโตลดลงร้อยละ 24.55
โดยจำแนกเป็นเบี้ยประกันภัยรับตามช่องทางการจำหน่าย
ดังนี้
อันดับ
1 การขายผ่านตัวแทนประกันชีวิต จำนวน 142,246.06 ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 49.75
หรือเติบโตลดลงร้อยละ
1.10 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ
2 การขายผ่านธนาคาร จำนวน 116,580.46 ล้านบาท
สัดส่วนร้อยละ 40.77
หรือเติบโตลดลงร้อยละ 7.35 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ
3 การขายผ่านช่องทางนายหน้า จำนวน 13,446.58
ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 4.70
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.40 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ
4 การขายผ่านช่องทางโทรศัพท์ จำนวน 6,942.73
ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 2.43
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.92
เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ
5 การขายผ่านช่องทางดิจิทัล 328.57 ล้านบาท
สัดส่วนร้อยละ 0.11
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 88.01 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ
6 การขายผ่านช่องทางไปรษณีย์ จำนวน 23.26
ล้านบาท สัดส่วนร้อยละ 0.01
หรือเติบโตลดลงร้อยละ 8.89
เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
อันดับ
7 การขายผ่านช่องทางอื่น ๆ 6,374.79 ล้านบาท
สัดส่วนร้อยละ 2.23
หรือเติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.53 เมื่อเทียบกับระยะเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ อัตราการเติบโตที่ลดลงในช่วงครึ่งแรก
ปี 2563 เนื่องจากภาวะอัตราดอกเบี้ยต่ำ ผนวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
ที่ทำให้เกิดมาตรการป้องกันระหว่างประเทศตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่าง
ๆ ทำให้ขาดสภาพคล่อง หลายธุรกิจปิดตัวลงมีคนจำนวนมากว่างงาน สูญเสียรายได้ ผู้บริโภคต้องปรับตัวโดยการประหยัดรายจ่ายส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวเช่นเดียวกับธุรกิจประกันชีวิต
โดยเฉพาะช่องทางตัวแทนประกันชีวิตซึ่งเป็นช่องทางหลักที่ไม่สามารถออกไปเสนอขายด้วยวิธี
face
to face ได้ ซึ่งทางสมาคมได้หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย
(คปภ.) ในการแก้ปัญหาเบื้องต้น โดยการเสนอแนวทางการเสนอขายแบบ Digital face
to face ที่ให้ผู้เสนอขายสามารถเสนอขายผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้เสียงและภาพให้ถือเสมือนเป็นการพบลูกค้า
ในระหว่างสถานการณ์จำเป็น และได้รับความยินยอมจากลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจเดินหน้าได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยแวดล้อมของธุรกิจที่ส่งผลให้ยอดขายผ่านช่องทางธนาคารลดลง
ภาวะความกดดันจากเรื่องมาตรฐานรายงานทางบัญชีและการเงิน IFRS
17 พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) และการเผชิญกับอัตราความเสียหายจากคนกลางและการฉ้อฉลประกันภัย (Fraud
& Abuse) สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่ออัตราการเติบโตของธุรกิจประกันชีวิตในครึ่งปีแรกทั้งสิ้น
ปัจจัยที่สองมาจากภาคธุรกิจ
ที่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายการบริหารช่องทางการขายและการบริการให้สอดคล้องกับสถาณการณ์ปัจจุบัน
เช่น การพัฒนาช่องทางการขายในรูปแบบ Digital และการบริหารผ่านระบบออนไลน์ในรูปแบบแพลตฟอร์มต่าง
ๆ อีกทั้งยังมุ่งพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตให้มีความหลากหลาย ให้สามารถตอบสนองความต้องการและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของทุกกลุ่มเป้าหมาย
โดยเฉพาะการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตควบการลงทุน
และผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่เน้นการให้ความคุ้มครอง รวมถึงพัฒนาสัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างทั่วถึง
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย
ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านสุขภาพด้วยการประกันภัย จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ซึ่งโครงการดังกล่าวจัดทำขึ้นเพื่อพัฒนา
ส่งเสริม และยกระดับมาตรฐานระบบประกันสุขภาพแห่งชาติ พร้อมทั้งศึกษาแนวทางการพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยสุขภาพแห่งชาติ
ณ ห้อง เลอ โลตัส ชั้น 2 โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563
นายสาระ
ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย ร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “คปภ. เพื่อชุมชน” ประจำปี
2563 จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมประกันภัย เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันภัยเชิงรุก
สิทธิประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยให้แก่ประชาชนในชุมชนต่าง ๆ ของประเทศ ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ของการประกันภัย
อีกทั้งสามารถใช้การประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินให้ตนเอง
รวมถึงครอบครัวได้อย่างเหมาะสม ณ วิสาหกิจชุมชนบ้านปลายบาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี เมื่อวันที่
18 สิงหาคม 2563
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยถึงกรณีที่มีบุคคลกล่าวอ้างว่ามาจากสมาคมประกันชีวิตไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางของ 23 บริษัทประกันชีวิต โทรศัพท์ติดต่อมายังผู้เอาประกันภัยเพื่อสอบถามข้อมูลการถือครองกรมธรรม์ประกันภัย พร้อมทำการนัดหมายเพื่อขอตรวจสอบกรมธรรม์ดังกล่าว ซึ่งหากพบว่ากรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวมีการชำระเบี้ยประกันภัยอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ทำให้กรมธรรม์นั้นมีมูลค่าเงินสดก็จะแนะนำให้หยุดส่งเบี้ยประกันภัย ปิดกรมธรรม์โดยการเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อขอรับเงินสดตามมูลค่าเวนคืนกรมธรรม์ แล้วนำเงินสดส่วนนั้นมาเปิดกรมธรรม์ฉบับใหม่กับบริษัทประกันชีวิตแห่งใหม่ผ่านตนเองซึ่งเป็นบริษัทประกันชีวิตที่ตนเองสังกัดอยู่ โดยให้เหตุผลว่ากรมธรรม์ฉบับใหม่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่คุ้มค่ากว่ากับผู้เอาประกันภัย
นอกจากนี้ บางรายยังมีพฤติกรรมอาสาช่วยจัดการ
ทั้งในรูปแบบการใช้สิทธิต่างๆ รวมถึงการเบิกค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์
โดยให้ผู้เอาประกันภัย และ/หรือผู้รับประโยชน์เซ็นหนังสือมอบอำนาจให้ไปดำเนินการแทนได้
เมื่อได้รับเงินมาแล้วจะมีการคิดค่าธรรมเนียม หรือขอรับเงินส่วนแบ่งในการดำเนินการ
ซึ่งการใช้สิทธิต่างๆ หรือการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์นั้น ผู้เอาประกันภัย
และ/หรือผู้รับประโยชน์สามารถติดต่อยังบริษัทที่รับประกันภัยได้โดยตรง
ผ่านช่องทางอำนวยความสะดวกมากมาย เช่น ออนไลน์ในรูปแบบแพลตฟอร์มต่างๆ ซึ่งบริษัทประกันชีวิตทุกบริษัทพร้อมอำนวยความสะดวกโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
ต่อกรณีดังกล่าว สมาคมประกันชีวิตไทยจึงขอยืนยันว่ากลุ่มบุคคลเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสมาคมประกันชีวิตไทย
และสมาคมฯ ไม่มีนโยบายให้บุคคลใดกระทำการดังกล่าว พร้อมทั้งขอแนะนำผู้เอาประกันภัย
ไม่ควรหลงเชื่อและกระทำตาม โดยในกรณีของการเวนคืนกรมธรรม์นั้น จำนวนเงินที่ได้รับจากการเวนคืนกรมธรรม์ก่อนที่จะครบกำหนดสัญญานั้นจะน้อยกว่าจำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจ่ายไป
และการทำกรมธรรม์ ฉบับใหม่จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยก็จะสูงขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัยที่เพิ่มขึ้น
รวมถึงสุขภาพของผู้เอาประกันภัยที่เปลี่ยนแปลงไป บริษัทประกันชีวิตแห่งใหม่ก็อาจปฏิเสธคำขอเอาประกันภัย
ไม่รับประกันภัย หรือถ้ารับก็อาจต้องชำระเบี้ยประกันภัยในอัตราที่สูงขึ้นอีก ความคุ้มครองรวมถึงกรณีที่ผู้เอาประกันภัยจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่
และหากซื้อสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองทันที สัญญาเพิ่มเติมสุขภาพจะมีช่วงระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง
(Waiting Period)
รวมถึงสุขภาพของผู้เอาประกันภัยที่เปลี่ยนแปลงไป โรคหรือการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นภายหลังที่ทำประกันชีวิตกรมธรรม์เดิมแต่เป็นระยะเวลาก่อนทำประกันชีวิตฉบับใหม่อาจจะไม่ได้รับความคุมครองตามสัญญาเพิ่มเติมสุขภาพ
รวมถึงสิทธิเรื่องการลดหย่อนภาษีด้วยเบี้ยประกันภัยจากกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีกำหนดระยะเวลาคุ้มครอง
ตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป ที่สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตที่ชำระมาลดหย่อนภาษีเงินได้สูงสุดถึง
100,000 บาท
แต่ถ้ามีการยกเลิกหรือเวนคืนประกันชีวิตก่อนครบสัญญาอาจเสียสิทธิทางภาษี กรมสรรพากรอาจเรียกคืนสิทธิลดหย่อนภาษีพร้อมเบี้ยปรับได้
นอกจากนี้ กรมธรรม์ประกันชีวิตฉบับเก่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบสะสมทรัพย์
อาจมีการันตีผลตอบแทนหรือ มีเงินผลประโยชน์จ่ายคืนระหว่างสัญญามากกว่าผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่มีอยู่ในปัจจุบัน
จึงไม่ควรให้กรมธรรม์ขาดอายุหรือเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบสัญญา
เพราะท่านอาจจะหาผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตที่ให้ผลตอบแทนดีกว่าไม่ได้อีกแล้วในยุคอัตราดอกเบี้ยต่ำเช่นปัจจุบัน
หากมีข้อสงสัย สามารถตรวจสอบกับบริษัทประกันชีวิตที่ผู้เอาประกันภัยมีกรมธรรม์ประกันชีวิตอยู่หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สมาคมประกันชีวิตไทยเบอร์โทรศัพท์
02-679-8080 e-mail :
tlaa@tlaa.org หรือhttp://www.tlaa.org