ข่าวประชาสัมพันธ์
ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีเพิ่มเป็น 25,000 บาท
วันที่ : 2 เมษายน พ.ศ. 2563

เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติมาตรการดูแลและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งหนึ่งในมาตรการดังกล่าวเป็นการบรรเทาและแบ่งเบาภาระของประชาชน คือการอนุมัติสิทธิลดหย่อนภาษีจากค่าเบี้ยประกันสุขภาพจากเดิม 15,000 บาทเพิ่มเป็น 25,000 บาท โดยมีผลตั้งแต่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2563

              นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า จากการระบาดของไวรัสโควิด-19 และมีแนวโน้มว่าจะยังไม่ยุติง่ายๆ ส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งต่อเศรษฐกิจ และระบบสาธารณสุข ยังความตื่นตัวให้กับประชาชนต่อการดูแลตนเอง โดยหลีกเลี่ยงชุมชน งดออกจากที่พักอาศัยโดยไม่จำเป็น กินร้อน แยกชุดช้อนส้อมและภาชนะส่วนตัว สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน รวมถึงล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์  และที่สำคัญ ณ ขณะนี้ คือการบริหารค่าใช้จ่ายและภาระต่างๆ ทางการเงิน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบระยะยาวต่อตนเองและครอบครัว สำหรับการประกันชีวิตและการประกันสุขภาพในสถานการณ์ปัจจุบันถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจให้กับประชาชน  โดยหนึ่งในมาตรการนั้นคือการส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยมีประกันชีวิตและประกันสุขภาพเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากสวัสดิการขั้นพื้นฐาน เช่น ประกันสังคมและสิทธิหลักประกันสุขภาพ 30 บาท ด้วยการเพิ่มวงเงินหักลดหย่อนภาษี จากค่าเบี้ยประกันสุขภาพจากเดิมตามจ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท เป็นไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมกับการหักลดหย่อนค่าเบี้ยประกันชีวิต และเงินฝากประเภทสงเคราะห์ชีวิตแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งมาตรการดังกล่าวนับว่าเป็นผลดีกับประชาชนเพราะเป็นการส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ประชาชนวางแผนดูแลสุขภาพกันมากขึ้น รวมถึงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐต่อสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล สำหรับผู้ที่ซื้อประกันสุขภาพตั้งแต่มี 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2563 สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในปี 2564

             ทั้งนี้ ประกันสุขภาพเป็นสิ่งที่ควรทำตั้งแต่ตอนที่ร่างกายยังแข็งแรงสมบูรณ์ เพราะประกันสุขภาพจะไม่คุ้มครองกรณีที่ป่วยเป็นโรคใดโรคหนึ่งมาก่อนหรือเป็นโรคที่ยังรักษาไม่หายขาด แต่สำหรับกรณีของคนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วอยากจะทำประกันสุขภาพ อาจทำได้แต่บริษัทประกันอาจแจ้งข้อเสนอใหม่ให้กับผู้ขอทำประกัน เช่น บริษัทอนุมัติแต่เบี้ยประกันสูงกว่าคนที่ไม่มีโรคประจำตัว หรือบริษัทอนุมัติแต่ขอยกเว้นเฉพาะโรคที่ผู้ขอทำประกันเป็นอยู่ ดังนั้นผู้เอาประกันจะต้องเปิดเผยข้อมูลสุขภาพตามจริงให้กับบริษัทประกัน หากตั้งใจปกปิดหรือบริษัทประกันสืบทราบเองในภายหลังอนุมัติความคุ้มครองไปแล้ว บริษัทประกันมีสิทธิ์ไม่จ่ายเงินค่าชดเชยค่ารักษาพยาบาลได้ ไปจนถึงการยกเลิกสัญญาประกันสุขภาพฉบับนั้นด้วย ดังนั้น ทุกครั้งก่อนทำประกันสุขภาพโปรดอ่านรายละเอียดและทำความเข้าใจเงื่อนไขความคุ้มครอง รวมถึงข้อยกเว้นต่าง ๆ ของแต่ละสัญญาให้ครบถ้วน พร้อมทั้งแถลงข้อมูลตามความจริง เพื่อให้การใช้สิทธิ์ทุกสิทธิ์ของท่านเป็นไปตามความต้องการด้วยความสะดวกและรวดเร็ว สำหรับท่านที่ตัดสินใจทำประกันสุขภาพไปแล้ว อย่าลืมแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเงินจากเบี้ยประกันสุขภาพต่อบริษัทประกันชีวิตที่ได้ซื้อประกันสุขภาพไว้ตามแบบฟอร์มที่บริษัทกำหนด นายกสมาคมฯ กล่าวเพิ่มเติม

  • เกี่ยวกับสมาคม
    • ประวัติสมาคม
    • แผนภูมิการบริหาร
    • คณะกรรมการบริหาร
    • คณะกรรมการสมาคม
    • คณะอนุกรรมการสมาคม
    • บริษัทสมาชิก
    • กิจกรรมเพื่อสังคม
    • บทบาทหน้าที่
    • วิสัยทัศน์และพันธกิจ
    • เป้าหมายและจุดประสงค์
    • นโยบายบริหาร
    • นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • อบรมใบอนุญาตฯ/ขอรับนายหน้าประกันชีวิต/จองคิวสอบ
    • หลักสูตรอบรมใบอนุญาต
    • สมัครลงทะเบียน
    • เอกสารดาวน์โหลด
    • แนะนำวิธีการสอบออนไลน์
    • กำหนดการรับสมัคร - วันสอบ - สถานที่สอบ
    • จองคิวสมัครสอบใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิต
  • บริการข้อมูลธุรกิจ
    • E-Book / วารสาร
    • ข่าวธุรกิจประกันชีวิต
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • กฏหมายและประกาศ
    • บทความและสาระความรู้
    • รายงานประจำปี
    • ระเบียบและทุนรางวัล
    • รางวัลตัวแทนคุณภาพดีเด่นแห่งชาติ
    • วันประกันชีวิตแห่งชาติ
    • รายงานธุรกิจประกันชีวิต (แนะนำให้ใช้ Google Chrome สำหรับดาวน์โหลดเอกสาร)
    • เอกสารอ่านเสริมสอบ ศศ.เพชรยอดมงกุฎ
  • ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ/อบรม
    • ตรวจผลสอบ
    • ตรวจชื่อผู้มีสิทธิสอบ
    • ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ-ผู้ผ่านการอบรมฯ
  • ติดต่อสมาคม
ติดต่อสมาคม
สมาคมประกันชีวิตไทย
เลขที่ 36/1 ซอยสะพานคู่ ถนนพระรามที่ 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
โทร 0-2679-8080
แฟกซ์ : 0-2679-7099
นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล| นโยบายความปลอดภัย | แผนผังเว็บไซต์
VISITOR :
Top