ข่าวประชาสัมพันธ์
ธุรกิจประกันชีวิตให้ความคุ้มครองลูกค้ากรณีพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสนามและ Hospitel
วันที่ : 21 เมษายน พ.ศ. 2564

นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ ที่มีการขยายตัวเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว และมีการแพร่กระจายไปยังคลัสเตอร์ใหม่ๆ มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นในแต่ละวัน ส่งผลให้โรงพยาบาลต่างๆ เริ่มมีปริมาณเตียงไม่เพียงพอรองรับผู้ป่วยติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น และเพื่อเป็นการแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวทางรัฐบาลจึงได้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม (field hospitals) และขอความร่วมมือภาคเอกชนในการจัดตั้งหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (hospitel) เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อ ขึ้นในหลายพื้นที่

          อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาคธุรกิจประกันภัยนั้น ได้มีการหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการคุ้มครองผู้เอาประกันภัยที่อาจจะต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ เช่นเดียวกับการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลทั่วไป เนื่องจากในเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยหรือสัญญาเพิ่มเติมมีการกำหนดคำนิยามของ “โรงพยาบาล” ไว้อย่างชัดเจน โดยหมายถึง “สถานพยาบาลใดๆ ซึ่งจัดบริการทางการแพทย์โดยสามารถรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน และมีองค์ประกอบทางด้านสถานที่ บุคลากรทางการแพทย์เพียงพอ ตลอดจนการจัดการให้บริการที่ครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีห้องสำหรับผ่าตัดใหญ่และได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนดำเนินการเป็น”โรงพยาบาล” ตามกฎหมายสถานพยาบาลของอาณาเขตนั้นๆ” ประกอบกับกฎหมายประกันชีวิตนั้น “ห้ามบริษัทให้ประโยชน์เป็นพิเศษแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ประกันภัยนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย” ซึ่งหากเกิดกรณีผู้เอาประกันภัยไปพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ อาจเกิดปัญหาไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ เนื่องจากไม่เข้าเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยหรือสัญญาเพิ่มเติม และนำไปสู่ข้อโต้แย้งระหว่างผู้เอาประกันภัยและบริษัทประกันภัย

          การหารือร่วมกันระหว่างสำนักงาน คปภ.และภาคธุรกิจประกันภัย ก็เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า หากผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ต้องเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม (field hospitals)  หรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (hospitel) ก็จะได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย เช่นเดียวกับการพักรักษาตัวในโรงพยาบาลทั่วไป โดยทางสำนักงาน คปภ. ได้ออกคำสั่งนายทะเบียนที่ 16/2564 เรื่อง การรักษาพยาบาลตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือสัญญาเพิ่มเติม เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับบริษัทประกันชีวิต เพื่อเป็นแนวทางให้บริษัทประกันชีวิตสามารถปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกันในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสที่เป็นอยู่ในขณะนี้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการยกเลิกโรงพยาบาลสนามหรือหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ

          “ภาคธุรกิจประกันชีวิต พร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการฝ่าฟันวิกฤตโรคระบาดในครั้งนี้อย่างเต็มที่ และมีความตั้งใจที่จะดูแลคุ้มครองผู้เอาประกันภัยทุกคนให้ได้รับประโยชน์สูงสุดตามเงื่อนไขของกรมธรรม์ หากผู้เอาประกันภัยรายใดมีข้อสงสัยสามารถสอบถามไปยังศูนย์บริการลูกค้า (Call Center) หรือช่องทางออนไลน์ของบริษัทที่ท่านทำประกันภัยไว้ หรือสายด่วนประกันภัย 1186 สำนักงาน คปภ.ได้” นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวในตอนท้าย

  • เกี่ยวกับสมาคม
    • ประวัติสมาคม
    • แผนภูมิการบริหาร
    • คณะกรรมการบริหาร
    • คณะกรรมการสมาคม
    • คณะอนุกรรมการสมาคม
    • บริษัทสมาชิก
    • กิจกรรมเพื่อสังคม
    • บทบาทหน้าที่
    • วิสัยทัศน์และพันธกิจ
    • เป้าหมายและจุดประสงค์
    • นโยบายบริหาร
    • นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
  • อบรมใบอนุญาตฯ/ขอรับนายหน้าประกันชีวิต/จองคิวสอบ
    • หลักสูตรอบรมใบอนุญาต
    • สมัครลงทะเบียน
    • เอกสารดาวน์โหลด
    • แนะนำวิธีการสอบออนไลน์
    • กำหนดการรับสมัคร - วันสอบ - สถานที่สอบ
    • จองคิวสมัครสอบใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิต
  • บริการข้อมูลธุรกิจ
    • E-Book / วารสาร
    • ข่าวธุรกิจประกันชีวิต
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • กฏหมายและประกาศ
    • บทความและสาระความรู้
    • รายงานประจำปี
    • ระเบียบและทุนรางวัล
    • รางวัลตัวแทนคุณภาพดีเด่นแห่งชาติ
    • วันประกันชีวิตแห่งชาติ
    • รายงานธุรกิจประกันชีวิต (แนะนำให้ใช้ Google Chrome สำหรับดาวน์โหลดเอกสาร)
    • เอกสารอ่านเสริมสอบ ศศ.เพชรยอดมงกุฎ
  • ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ/อบรม
    • ตรวจผลสอบ
    • ตรวจชื่อผู้มีสิทธิสอบ
    • ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ-ผู้ผ่านการอบรมฯ
  • ติดต่อสมาคม
ติดต่อสมาคม
สมาคมประกันชีวิตไทย
เลขที่ 36/1 ซอยสะพานคู่ ถนนพระรามที่ 4 แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120
โทร 0-2679-8080
แฟกซ์ : 0-2679-7099
นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล| นโยบายความปลอดภัย | แผนผังเว็บไซต์
VISITOR :
Top